Page 126 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 126

3-68





                    3.2.3  การประเมินคุณภาพที่ดินรวม

                           การประเมินคุณภาพที่ดินรวม เป็นการน้าผลการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพและ

                  เศรษฐกิจมาพิจารณาร่วมกัน โดยน้าคุณภาพที่ดินทั้งสองด้านมาประเมินร่วมกัน ทั้งนี้ค่าต่้าสุดถือเป็นค่า

                  ของคุณภาพที่ดินรวม การประเมินในครั้งนี้พิจารณาเฉพาะหน่วยที่ดินที่มีการประเมินคุณภาพที่ดินทาง
                  เศรษฐกิจเท่านั้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเสนอแนะทางเลือกการใช้ที่ดินหลักเกณฑ์ในการประเมิน

                  ระหว่างคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ คุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพที่ดินรวม แบ่งออกเป็น 4 ระดับ

                             1.  มีความเหมาะสมสูง (S1)
                             2.  มีความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                             3.  มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)                                                                                                    3-68

                             4.  ไม่มีความเหมาะสม (N)

                             การประเมินความเหมาะสมของที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองนาทวี ได้ประเมินความ
                  เหมาะสมของที่ดินรวม ในเขตชลประทาน และเขตเกษตรน้้าฝน รายละเอียดดังนี้


                             ความเหมาะสมของที่ดินรวมเขตเกษตรน้ าฝน
                             ประเภทการใช้ที่ดินในลุ่มน้้าที่ใช้ประเมินความเหมาะสมของในลุ่มน้้าสาขาคลองนาทวี

                  ในเขตเกษตรน้้าฝน ได้แก่ ข้าวนาปี (นาด้า) พันธุ์เล็บนกปัตตานี ยางพารา และปาล์มน้้ามัน (ตารางที่ 3-19)

                  โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                ข้าวนาปี (นาด า) พันธุ์เล็บนกปัตตานี พบปลูกในพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ซึ่ง
                  ข้าวนาปีที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 17 นี้ มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจและความเหมาะสมทางกายภาพ

                  อยู่ในระดับที่เหมาะสมเล็กน้อย ความเหมาะสมรวมจึงอยู่ที่ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย


                                ยางพารา พบปลูกในพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เช่น หน่วยที่ดินที่ 34 และ 39
                                ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของยางพาราที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 34 อยู่ที่ระดับปานกลาง

                   และความเหมาะสมทางทางกายภาพของยางพาราที่ปลูกในหน่วยที่ดินนี้ อยู่ในระดับที่เหมาะสมปานกลาง

                   เนื่องจากข้อจ้ากัดด้านความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร และสภาวะ
                   การหยั่งลึกของราก ความเหมาะสมรวมจึงอยู่ที่ระดับความเหมาะสมปานกลาง

                                ความเหมาะสมทางทางกายภาพของยางพาราที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 39 อยู่ในระดับ

                   ที่เหมาะสมปานกลางเนื่องจากข้อจ้ากัดด้านความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร  และความเป็นประโยชน์
                   ของธาตุอาหาร แต่มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจระดับเล็กน้อย ความเหมาะสมรวมจึงอยู่ที่ระดับ

                   ระดับเล็กน้อย










                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131