Page 81 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองละงู
P. 81

3-21





                                แนวทางปรับปรุงแก้ไข  การจัดการดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว ปล่อยน้้าขังในนาแล้วระบายออก

                  เพื่อล้างกรดออกจากดิน ใส่ปูนปรับปรุงอัตรา 0.5-1.5 ตันต่อไร่ ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบในช่วงออกดอก

                  ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ รองพื้นและแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่
                  จัดการดินเปรี้ยวเพื่อปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ควรยกร่องสูง 50-80 เซนติเมตร หว่านปูนในหลุมปลูก 3-5 กิโลกรัม

                  ใส่ปุ๋ยหมัก 25 กิโลกรัม และควรควบคุมระดับน้้าในร่องสวนให้มีน้้าขังตลอดปี

                                2)  หน่วยที่ดินในกลุ่มดินตื้นมีหินพื้นโผล่ มีเนื้อที่ 88,596  ไร่ หรือร้อยละ 16.81 ของ
                  พื้นที่ลุ่มน้้า ประกอบด้วย ดินตื้นในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ 25  25M และดินตื้นในพื้นที่ดอน ได้แก่  45  45B

                  45Bb  45C  45D  45gm  45gmb  51  51B  51C  51D  51E  เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง มีเศษหิน ก้อนหิน

                  ปะปนอยู่ในเนื้อดินตั้งแต่ร้อยละ 35 โดยปริมาตรหรือมากกว่า ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
                  หรือมีชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ดินตื้นจะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชลงไป

                  หาอาหาร นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นดินน้อย ท้าให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและอุ้มน้้าต่้ามาก

                  พืชจะขาดน้้าท้าให้เหี่ยวเฉาไวกว่าพื้นที่อื่น

                                แนวทางการปรับปรุงแก้ไข  เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและไม่มีเศษหิน หรือ
                  ก้อนหินอยู่บริเวณหน้าดินมาก ท้าเกษตรกรรมแบบวนเกษตรหรือแบบผสมผสาน ไม่ท้าลายไม้

                  พื้นล่าง ขุดหลุมปลูก พร้อมปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อหลุม หรือปุ๋ยคอก

                  อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อหลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก มีระบบอนุรักษ์ดินและน้้า เช่น ใช้วัสดุ

                  คลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนาแหล่งน้้าไว้ใช้ใน
                  ระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานหรือพืชขาดน้้า ส้าหรับในพื้นที่ที่มีหินกระจัดกระจายอยู่บนดินมาก ไม่เหมาะสม

                  ต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร

                                3)  หน่วยที่ดินในกลุ่มที่มีความลาดชันสูง มีเนื้อที่ 311,437 ไร่ หรือร้อยละ 59.08 ของพื้นที่
                  ลุ่มน้้า ได้แก่  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (หน่วยที่ดินที่ 62) ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ หรือเป็น

                  พื้นที่ภูเขา เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม เนื่องจากยากต่อการจัดการและดูแลรักษา ถ้าใช้

                  มาตรการพิเศษในการอนุรักษ์ดินและน้้า ท้าให้เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และยังเป็นการท้าลายระบบนิเวศ
                  ของป่าอีกด้วย
                                แนวทางการปรับปรุงแก้ไข  ควรรักษาไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและ

                  เป็นที่เพาะพันธุ์ของสัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร ถ้ามีความจ้าเป็นต้องน้ามาใช้ประโยชน์ทาง

                  การเกษตร ควรมีการส้ารวจดินและเลือกใช้พืชที่มีศักยภาพในการเกษตร เป็นดินลึกและมีความลาดชัน

                  ไม่สูงมากนัก โดยท้าการเกษตรแบบวนเกษตรและมีระบบอนุรักษ์ดินและน้้าที่เหมาะสมในกรณีที่เป็น
                  พื้นที่นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย ดังนี้








                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองละงู
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86