Page 168 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองละงู
P. 168

ผนวก ข-2






                                   การประเมินความเหมาะสมของที่ดินทางด้านเศรษฐกิจ


                  ขั้นตอนการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจ


                         1.   การวิเคราะห์และประเมินรายได้เหนือต้นทุนผันแปร

                             เป็นการวิเคราะห์รายได้เบื้องต้นจากการผลิตว่าเกษตรกรจะได้ก าไร หรือขาดทุนขั้นต้นเท่าไร
                  โดยน ามูลค่าผลผลิตหรือรายได้ทั้งหมด (ปริมาณผลผลิต * ราคาผลผลิต) หักด้วยต้นทุนผันแปร

                   ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการน าปัจจัยการผลิตมาใช้ ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายเงินสดและไม่เป็นเงินสด

                  ที่เกิดขึ้นเมื่อด าเนินกิจกรรมการผลิต ต้นทุนผันแปร เป็นต้นทุนที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลผลิต
                  ในช่วงระยะเวลาหนึ่งและค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะไม่มีถ้ายังไม่ได้ลงมือกระท ากิจกรรมการผลิต

                  ต้นทุนผันแปร ดังกล่าว ได้แก่ ค่าวัสดุ ค่าแรงงาน เป็นต้น ซึ่งรายได้ขั้นต้นเป็นสิ่งแสดงความพอใจ

                  ที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อเลือกผลิตพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง

                         2.   การวิเคราะห์และประเมินค่าความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ส าหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                             เป็นการวิเคราะห์และประเมินโดยการจัดชั้นความเหมาะสมรวมด้านเศรษฐกิจ S1 S2 S3
                  และ N ส าหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (S1 หมายถึง ความเหมาะสมสูง S2 หมายถึง ความเหมาะสม

                  ปานกลาง S3 หมายถึง ความเหมาะสมเล็กน้อย และ N หมายถึง ไม่มีความเหมาะสม) จากค่าของตัวแปรต่างๆ

                  อาทิ รายได้ ต้นทุนผันแปร รายได้เหนือต้นทุนผันแปรและอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนผันแปรทั้งหมด

                  น ามาจัดชั้นความเหมาะสมของแต่ละตัวแปร แล้วหาค่าความเหมาะสมรวมของทุกตัวแปร
                  เพื่อทราบถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทไหน ในหน่วยที่ดินใดมีความเหมาะสมที่จะท าการผลิต

                  มากน้อยเท่าไร โดยวิธีการ

                             2.1  หาค่าสูงสุด (Maximum หรือ Max) และค่าต่ าสุด (Minimum หรือ Min) ของต้นทุนผันแปร
                  รายได้ รายได้เหนือต้นทุนผันแปรและอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุนเฉลี่ยต่อไร่

                             2.2  หาค่า IR (Interval Range) ของต้นทุนผันแปร รายได้ รายได้เหนือต้นทุนผันแปร

                  และอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุนเฉลี่ยต่อไร่

                             2.3  ก าหนดชั้นความเหมาะสมของตัวแปรทั้ง 4 ชนิด ต้นทุนผันแปร  (VC)  รายได้  (I)
                  รายได้เหนือต้นทุนผันแปร  (RVC)  และอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุนเฉลี่ยต่อไร่ (BC)  จากค่า

                  Max  Min และ IR (ตารางผนวก ข-1)
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173