Page 103 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 103

3-30





                                ดินมีปัญหาหรือดินมีข้อจ ากัดในการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาภาคใต้ฝั่ง

                  ตะวันตกตอนล่าง แสดงในตารางที่ 3-3 ประกอบด้วย

                                1)  ดินเปรี้ยวจัด  มีเนื้อที่ 8,612  ไร่ หรือร้อยละ 0.66  ของพื้นที่ลุ่มน้้า ประกอบด้วย

                  หน่วยที่ดินที่ 10 14 14I 14M 14MI  เป็นดินที่มีกรดจัดมากท้าให้เกิดการตรึงธาตุอาหารและปลดปล่อยสารที่
                  เป็นพิษต่อพืช เป็นดินเหนียวจัด การระบายน้้าไม่ดี โครงสร้างดินแน่นทึบ ดินแห้งแข็งและแตกระแหงท้าให้

                  ไถพรวนยาก ขาดแคลนแหล่งน้้าจืด และน้้าท่วมขังในฤดูฝนท้าความเสียหายให้กับพืชที่ไม่ชอบน้้า
                                แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว ปล่อยน้้าขังในนาแล้วระบายออก เพื่อล้างกรด

                  ออกจากดิน ใส่ปูนปรับปรุงอัตรา 0.5-1.5 ตันต่อไร่ ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบในช่วงออกดอก ร่วมกับ

                  การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ รองพื้นและแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่
                                แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวเพื่อปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ควรยกร่องสูง 50-80 เซนติเมตร

                  หว่านปูนในหลุมปลูก 3-5 กิโลกรัม ใส่ปุ๋ยหมัก 25 กิโลกรัม  และควรควบคุมระดับน้้าในร่องสวนให้

                  มีน้้าขังตลอดปี
                                2)  หน่วยดินทรายจัด และดินค่อนข้างเป็นทราย  มีเนื้อที่ 29,062  ไร่ หรือร้อยละ 2.26

                  ของพื้นที่ลุ่มน้้า  ประกอบด้วย ดินทรายจัดในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ หน่วยที่ดินที่  23  23M  ดินค่อนข้างเป็น

                  ทรายในพื้นที่ดอน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่  39  39B  39C และ ดินทรายจัดในพื้นที่ดอน ได้แก่ หน่วยที่ดินที่
                  42  42b  43  43b ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย

                  การระบายน้้าของดินค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่้า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่้า

                  ความอิ่มตัวด้วยด่างปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนร่วน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย
                  (pH 5.5-6.5) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)

                                แนวทางแก้ไข การใช้ประโยชน์ของพืชบริเวณนี้ คือ การเลือกชนิดพืชที่มีศักยภาพ

                  เหมาะสมมาปลูก มีการปรับปรุงบ้ารุงดินร่วมกับมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้้า เช่น ในกรณีที่ปลูกพืชไร่
                  ควรจัดระบบการปลูกพืชให้หนุนเวียนตลอดทั้งปี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 3-4 ตันต่อไร่ หรือ

                  ไถกลบพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์)
                  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้้าหรือปุ๋ยเคมี มีวัสดุคลุมดินหรือปลูกพืชเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้้าและจัดระบบ

                  การให้น้้าในแปลงปลูก ในกรณีปลูกไม้ผลให้ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75ซม. รองก้นหลุมปลูกด้วย

                  ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม หรือท้าแนวรั้วหรือท้าฐานหญ้าแฝก
                  เฉพาะต้น

                                   3)  หน่วยที่ดินในกลุ่มดินตื้น มีเนื้อที่ 221,706 ไร่ หรือร้อยละ 17.26 ของพื้นที่ลุ่มน้้า

                  ประกอบด้วย ดินตื้นในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ 25  25I  25M  25MI  ดินตื้นในพื้นที่ดอน ได้แก่  45  45B  45Bb
                  45C  45D  45gm  45gmb 51B  51C  51D  51E  เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง มีเศษหิน ก้อนหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน

                  ตั้งแต่ร้อยละ 35 โดยปริมาตรหรือมากกว่า ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือมีชั้นหินพื้นตื้นกว่า





                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108