Page 20 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 20

9


                  2.2 สภาพภูมิอากาศ
                           จากสถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจวัดอากาศ จังหวัดเชียงราย (พ.ศ.2532-2551) ดังตารางที่ 2 พื้นที่จังหวัด

                  เชียงรายจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical  savannah:  Aw)   ตามระบบการจ าแนก
                  ภูมิอากาศของ  Koppen โดยมีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,713.5 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 76.0
                  เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยทั้งปี 31.1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ยทั้งปี 19.5 องศาเซลเซียส สามารถ
                  แบ่งลักษณะภูมิอากาศออกเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่

                                ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลม
                  มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนที่มีฝนตกหนักมากสุดคือเดือนสิงหาคม ปริมาณฝนเฉลี่ย 369.0  มิลลิเมตร เนื่องจาก
                  ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นที่พัดเข้ามาในช่วงดังกล่าว
                                ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลม

                  มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งแล้ง เดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 13.0
                  องศาเซลเซียส
                                ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ระยะนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออก
                  เฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปจะสูงขึ้นท าให้มีสภาพอากาศร้อนกว่าปกติ และจะร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายน โดยมี

                  อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.6  องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อาจจะมีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศเย็นจากประเทศจีน
                  เคลื่อนตัวลงมาเป็นครั้งคราว ท าให้เกิดปะทะกับอากาศร้อนเขตท้องถิ่น เกิดเป็นแนวปะทะอากาศเย็น ท าให้มีพายุฝน
                  ฟ้าคะนองเกิดขึ้นแต่มีฝนตกไม่นาน

                                นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตร (ภาพที่  2  ) โดยพิจารณาระหว่างค่าปริมาณ
                  น้ าฝนรายเดือนเฉลี่ยกับค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าของพืชรายเดือนเฉลี่ยพบว่าช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการ
                  เพาะปลูกพืชอยู่ในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว อาจจะต้องประสบ
                  ปัญหาภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ดังนั้น ควรวางแผน
                  จัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมและจัดหาแหล่งน้ าสนับสนุนเพื่อป้องกันพืชผลเสียหายเนื่องจากฝนแล้ง
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25