Page 10 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 10

1

                                                          บทที่ 1

                                                           บทน า

                  1.1 หลักการและเหตุผล

                         กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน ฟื้นฟูความอุดม
                  สมบูรณ์ของดิน และท าการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน ทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า การปรับปรุงบ ารุงดิน
                  การแก้ไขดินที่มีปัญหาในการท าการเกษตร เพื่อถ่ายทอดข้อมูลและความรู้ให้กับเกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐ
                  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่สนใจ เพื่อให้การพัฒนาการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืน แต่การถ่ายทอด

                  ผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติยังท าได้ในขอบเขตที่จ ากัด เนื่องจากขาดแบบอย่างที่มีความพร้อม  และเป็น
                  ตัวอย่างที่ดีของเกษตรกรในพื้นที่ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้มอบหมายให้สถานีพัฒนาที่ดินจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอด
                  เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินขึ้น เพื่อเป็นแปลงสาธิตการท าการเกษตรที่มุ่งเน้นน าภูมิปัญญาชาวบ้านมาผนวก
                  กับเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่

                         สถานีพัฒนาที่ดินได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินฯ กระจายตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่าง
                  ให้เกษตรกรเข้ามาศึกษาแนวทางการท าการเกษตรแบบผสมผสานที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรดิน  พืช
                  น้ าอย่างเหมาะสม  วิธีการด าเนินงานคัดเลือกพื้นที่ด าเนินการจากแปลงสาธิตจุดเรียนรู้การพัฒนาที่ดิน

                  ประจ าต าบลของหมอดินอาสาที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น แปลงสาธิตระบบอนุรักษ์ดิน
                  และน้ า การปรับปรุงบ ารุงดิน การผลิตและใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร ฯลฯ จัดท าศาลา
                  ศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งให้บริการทางวิชาการ  ซึ่งภายในศาลาศูนย์เรียนรู้จัดนิทรรศการรวบรวมงาน
                  เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน แผนที่แสดงกลุ่มชุดดิน และแผนที่แสดงความเหมาะสมของดิน นอกจากนั้นยังเป็น
                  สถานที่ให้บริการงานพัฒนาที่ดินต่างๆ เช่น สารเร่ง พด. ข้อมูลวิชาการ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาชุดดินที่

                  ครอบคลุมภายในพื้นที่ เกษตรกรสามารถน าไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                         จังหวัดกาญจนบุรี  มีเนื้อที่ประมาณ  19,483  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  12,176,968  ไร่
                  เป็นพื้นที่การเกษตร 2.5 ล้านไร่ โดยมีการท าการเกษตรอุตสาหกรรม ปลูกอ้อย 797,327 ไร่ รองลงมา คือ

                  ข้าวโพดฝักอ่อน 166,652 ไร่ และข้าวโพดหวาน 70,188 ไร่ ซึ่งจัดว่าข้าวโพดเป็นพืชไร่เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
                  ของจังหวัดกาญจนบุรี จากการส ารวจดินในพื้นที่เขตต าบลหนองไผ่ อ าเภอด่านมะขามเตี้ย ลักษณะดินที่พบ
                  ในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 31 ชุดดินวังไห (Wang Hai series: Wi) เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว มีสีน้ าตาล
                  เหลือง แดง เป็นดินลึก มีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง

                  pH 5.5-6.5 ศักยภาพของดินเหมาะสมส าหรับปลูกพืชไร่และไม้ผล แต่ไม่เหมาะสมที่จะน ามาใช้ในการท า
                  นา  เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา  ยากในการที่จะเก็บกักน้ าไว้ปลูกข้าว ปัญหา
                  เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่  คือ  ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ดินขาดแคลนน้ าใน
                  การเพาะปลูกและมีความชื้นไม่เพียงพอในบางช่วง  ดินขาดธาตุอาหารบางอย่าง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                  เพื่อเป็นการจัดการปัญหาเรื่องดินให้การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดควรมีการปรับปรุง
                  โครงสร้างของดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน โดยการใช้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ สารเร่ง
                  พด.ต่างๆ พืชปุ๋ยสด และหญ้าแฝก ในการเพิ่มธาตุอาหารที่จ าเป็นแก่ดินและท าให้คุณสมบัติทางกายภาพ
                  ของดินดีขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

                         เอกสารวิชาการเล่มนี้ได้จัดเตรียมข้อมูลทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ แหล่งน้ า ปริมาณน้ าฝนใน
                  รอบปี ข้อมูลทรัพยากรดิน การกระจายทรัพยากรดิน ปัญหาและอุปสรรคของดินในแต่ละกลุ่มชุดดิน
                  ด้านกายภาพเคมีทั้งจังหวัด เพื่อน ามาวิเคราะห์วางแผนในการปรับปรุงบ ารุงดินตามสภาพปัญหาของ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15