Page 130 - ดินเพื่อประชาชน
P. 130

ดินเพื่อประชาชน    123



                    2.  การไถลึกกลับหนาดิน เพื่อลดระดับความเปนพิษของสารจากผิวดิน วิธี

            นี้มีขอเสียคือการสลายตัวของสารกําจัดศัตรูพืชในดินลางจะเปนไปโดยเชื่องชากวา
            เมื่อสารนั้นอยูดินบน เพราะทําใหปจจัยการเสื่อมสภาพของสารทางชีวเคมีลดลง

                    3.    การใชระบบชลประทานเพื่อชะลางสารนั้นออกจากพื้นที่ และ

            เคลื่อนยายลงลึกเลยระบบรากพืช วิธีเชนนี้ควรฝงทอระบายน้ําดักอยูใตผิวดิน
                    4.  การใชสารดูดซับ สารเคมี เชน activated carbon อาจใชคลุกเคลากับ

            ดินเพื่อลดระดับความเปนพิษของสารกําจัดศัตรูพืช

                    5.  การใชสารเคมีหรือจุลินทรียเพื่อลดสภาพพิษ เชน ปริมาณดีดีทีในดินจะ
            ลดลงอยางรวดเร็ว หากมีการคลุกเชื้อแบคทีเรีย Aerobacter erogenes  และให

            ดินอยูในสภาพน้ําขัง

            ธาตุพิษ

                    ธาตุพิษ (toxic element) โดยทั่วไปมักจะหมายถึงธาตุโลหะหนัก และธาตุ

            อื่น ซึ่งเปนสารมลพิษที่สําคัญในดิน ธาตุพิษเหลานี้เปนสารมลพิษไดเนื่องจากมีการ
            นํามาใชประโยชนในรูปสารประกอบและเครื่องมือเครื่องใชตางๆ แลวมีการ
            ปนเปอนสูสภาพแวดลอม

                    ธาตุอื่นในที่นี้ อาจรวมถึงธาตุที่เปนจุลธาตุอาหารพืช และที่ไมใชจุลธาตุ

            อาหาร สําหรับจุลธาตุอาหารที่เปนพิษไดก็เนื่องมาจากระดับปริมาณความเหมาะสม
            ในพืชมีชวงจํากัดมาก ถามีนอยเกินไปก็ขาด มีมากเกินไปก็เปนพิษ


            แหลงที่มาและการสะสม

                    แหลงของสารมลพิษสูดินมีไดหลายแหลงคือ จากสารเคมีในการเกษตร

            (เชน ปุยและสารฆาแมลง) โรงถลุงแร การเผาไหมน้ํามัน โรงงานอุตสาหกรรม ของ
            เหลือใชจากโรงงานและจากชุมชน ตลอดจนการใชที่ดินเปนที่ถมวัสดุเหลือใช
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135