Page 3 - การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตพืชในพื้นที่ ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 2 ปีการผลิต 2541/42
P. 3

บทคัดยอ


                            บริเวณลุมน้ําสาขาภาคใตฝงตะวันตกสวนที่ 2  เปนสาขาหนึ่งของลุมน้ําภาคใตฝงตะวันตก

                  อยูทางทิศตะวันตกของภาคใตฝงทะเลอันดามัน  มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 3,588.57  ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ
                  2,242,856 ไร โดยในอดีตที่ผานมาพื้นที่ลุมน้ํานี้มีสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณทั้งทรัพยากร

                  ปาไม  ทรัพยากรน้ําและทรัพยากรดิน ในปจจุบันทรัพยากรเหลานี้ไดถูกบุกรุกและถูกนํามาใชประโยชน

                  อยางขาดความระมัดระวังและควบคุมดูแล  ดังนั้นเพื่อใหมีการใชที่ดินและแกไขปญหาทรัพยากรไดอยาง
                  ถูกตอง จึงตองมีการวางแผนการใชที่ดินอยางเหมาะสมอยางเปนระบบและใหสมดุลกับธรรมชาติมากที่สุด

                            ในการวางแผนกําหนดนโยบายดานการผลิตพืช        ขอมูลดานตนทุนและผลตอบแทนจาก

                  การผลิตพืช  เปนสวนสําคัญที่เปนแนวทางใหผูปฏิบัติงานนําไปใชประกอบการพิจารณาตัดสิน  หรือ
                  เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสูกิจการที่ใหผลประโยชนมากกวา  ดังนั้นกลุมเศรษฐกิจที่ดินจึงไดดําเนินการ

                  สํารวจและทําการวิจัยเกี่ยวกับตนทุนและผลตอบแทนจากการผลิตพืช เพื่อเปนแนวทางในการปรับปรุง

                  ดานการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรใหสูงขึ้น  วัตถุประสงคในการวิจัยเพื่อศึกษาขอมูลทั่วไปของ

                  เกษตรกร  ตนทุนและผลตอบแทนจากการผลิตพืช  ปญหาในการผลิตและขอเสนอแนะ  ไดดําเนินการ
                  ศึกษาพื้นที่ในลุมน้ําสาขาภาคใตฝงตะวันตกสวนที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่อําเภอพนม จังหวัดสุราษฎรธานี

                  อําเภอตะกั่วปา  อําเภอทายเหมือง  อําเภอเมืองพังงา  อําเภอตะกั่วทุงและอําเภอทับปุด  จังหวัดพังงา

                  อําเภอปลายพระยา  อําเภอเมืองกระบี่  อําเภอเหนือคลองและอําเภอเขาพนม  จังหวัดกระบี่  โดยสํารวจ
                  เกษตรกรที่ปลูกพืชตามลักษณะการใชประโยชนที่ดินทั้งหมด 5  หนวยที่ดิน  ดวยวิธีการสุมตัวอยาง

                  แบบเจาะจง ไดจํานวนตัวอยางทั้งหมด 202 ตัวอยาง ผลการศึกษาสรุปไดดังนี้

                            เกษตรกรหัวหนาครอบครัวจะมีอายุโดยเฉลี่ย 53.84 ป สวนใหญรอยละ 79.70 นับถือศาสนาพุทธ

                  ในสวนของการศึกษารอยละ 88.61  มีความรูเพียงแคระดับชั้นประถมศึกษา  เกษตรกรมีที่ดินถือครอง
                  เฉลี่ยครอบครัวละ 13.19 ไร โดยที่เกษตรกรที่ปลูกปาลมน้ํามันในชวงอายุ 17-21 ป ในหนวยที่ดินที่ 26B

                  มีเนื้อที่ถือครองของตนเองมากที่สุดเฉลี่ยครอบครัวละ 24.07  ไร  หนังสือสําคัญในที่ดินสวนใหญเปน

                  น.ส.3  เกษตรกรที่ปลูกขาวมีอยู 2 หนวยที่ดิน คือหนวยที่ดินที่ 5 และ 17 วัตถุประสงคหลักปลูกไวเพื่อ
                  บริโภคในครัวเรือนและเก็บไวทําพันธุ   มีเพียงสวนนอยที่ขาย  ปรากฏวาในการผลิตขาวของทั้ง 2

                  หนวยที่ดินจะใหผลตอบแทนการลงทุนขาดทุนทั้งหมด การปลูกยางพารามีอยูใน 3 หนวยที่ดิน ไดแก

                  หนวยที่ดินที่ 26  26B และหนวยที่ดินที่ 26C โดยที่การผลิตยางพาราอายุ 9-13 ปในหนวยที่ดินที่ 26C
                  จะใหผลตอบแทนการลงทุนมากที่สุดเฉลี่ยไรละ 401.91 บาท สวนยางพาราอายุ 21-25 ป ในหนวยที่ดิน

                  ที่ 26B  ใหผลตอบแทนการลงทุนขาดทุนไรละ 459.09  สําหรับการผลิตปาลมน้ํามัน  จะมีปลูกอยูใน

                  หนวยที่ดินที่ 26 และ 26B การผลิตปาลมน้ํามันอายุ 25 ปขึ้นไป ในหนวยที่ดินที่26 จะใหผลตอบแทน
                  การลงทุนมากที่สุดเฉลี่ยไรละ 6,090.19 บาท สวนปาลมน้ํามันชวงอายุ 17-21 ป ในหนวยที่ดินที่ 26B

                  จะใหผลตอบแทนการลงทุนนอยที่สุดเฉลี่ยไรละ 3,256.99 บาท
   1   2   3   4   5   6   7   8