Page 191 - การใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2548
P. 191

ง- 11


                         9.  สรุปผลการดําเนินงาน

                                การวิเคราะหพื้นที่ปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตวฤดูฝน เพื่อประเมินผลผลิตในปการผลิต  2548

                  ( ระหวางเดือนมิถุนายน 2547 - สิงหาคม 2548 )  ครอบคลุมพื้นที่  37  จังหวัดของทั้งประเทศ  โดยการใช
                  ขอมูลจากดาวเทียม Landsat - 5 ระบบ TM รวมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร  โดยใชเวลาในการดําเนินงาน

                  ประมาณ  4  เดือน ( ตั้งแตเดือนมกราคม - เมษายน 2548 )  ผลของการดําเนินงานไดพื้นที่ปลูกขาวโพดเลี้ยง

                  สัตวฤดูฝนทั้งสิ้น  6,493,048 ไร    ผลผลิตรวม  4,547,991  ตัน  โดยภาคเหนือมีเนื้อที่ปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตว

                  มากที่สุด  3,938,843  ไร  หรือรอยละ  60.66  ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด  ผลผลิตรวม  2,813,965  ตัน  ภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือ  1,325,235  ไร  หรือรอยละ  20.41  ผลผลิตรวมทั้งภาค 890,446  ตัน  ภาคกลาง
                  966,441  ไร  หรือรอยละ  14.89 ผลผลิตรวม  685,186  ตัน และภาคตะวันออก 262,529  ไร  หรือรอยละ

                  4.04 ผลผลิตรวมทั้งภาค 158,393 ตัน จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของประเทศ  คือ  จังหวัดเพชรบูรณ

                  มีเนื้อที่ปลูก  1,074,880  ไร  ผลผลิตรวม  781,171  ตัน  พันธุขาวโพดเลี้ยงสัตวที่เกษตรกรนิยมปลูกมาก

                  คือ พันธุซีพี.ดีเค. 888  พันธุคารกิลล 919  และพันธุบิ๊ก 717  ตามลําดับ

                         ผลของการดําเนินงาน  พบวาปการผลิต  2548  มีพื้นที่ปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตวทั้งประเทศ ลดลง
                  จากปการผลิต  2547  รอยละ  7.83  ผลผลิตรวมและผลผลิตเฉลี่ยลดลงรอยละ  19.38  และ  12.61  ตาม

                  ลําดับ   สําหรับพื้นที่ปลูกลดลง    เนื่องจากประเทศไทยประสบปญหาภัยแลงเพราะฝนทิ้งชวงตั้งแตเดือน

                  ตุลาคม 2547 เปนตนมา


                         10.  ปญหาและขอจํากัดในการใชขอมูล

                         1.  ฤดูปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตว (รุน 1) เปนชวงฤดูฝน ทําใหไมมีขอมูลจากดาวเทียมที่บันทึกตรงกับ

                  ชวงฤดูปลูก เนื่องจากปญหาเมฆปกคลุม จําเปนตองใชขอมูลจากดาวเทียมในปที่ผานมาเปนขอมูล
                         2.  ในการตรวจสอบภาคสนาม  อาจทําใหพื้นที่ปลูกในปจจุบันคลาดเคลื่อนไปในบางพื้นที่ ชวง

                             เวลาตรวจสอบในภาคสนามบางพื้นที่ไมสอดคลองกับฤดูกาลผลิต ( ฤดูปลูก - เก็บเกี่ยว )

                  ทําใหขาดขอมูลจากเกษตรกรในพื้นที่   เพราะตามหาเกษตรกรไมพบ

                         3 .ผลผลิตเฉลี่ยตอไร   และราคาที่เกษตรกรขายไดเปนขอมูลของปที่ผานมา   เมื่อนํามาทําการ
                  ประเมินผลผลิตและมูลคาที่เกษตรไดรับในปปจจุบันอาจทําใหคลาดเคลื่อนได

                         4.   บางพื้นที่จํานวนจุดตรวจสอบคอนขางนอย  และการกระจายไมครอบคลุมทุกตําบล  ตองใชคา

                  ผลผลิตเฉลี่ยจากตําบลขางเคียงหรือแหลงขอมูลอื่นๆ
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196