Page 63 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2566
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                           49

                                      (2) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร้าง (A900) มีเนื้อที่ 1,163 ไร่ หรือร้อยละ 0.01

                  ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอขามทะเลสอ อำเภอคง และอำเภอปากช่อง
                                      (3) ฟาร์มจระเข้ (A905) มีเนื้อที่ 305 ไร่ พบที่อำเภอสีคิ้ว
                                      (4) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์กุ้ง (A903) มีเนื้อที่ 138 ไร่ พบที่อำเภอบ้านเหลื่อม

                  อำเภอปักธงชัย และอำเภอสีดา
                                9) เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม (A0) มีเนื้อที่ 24,443 ไร่ หรือร้อยละ 0.19
                  ของเนื้อที่จังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
                  พบมากที่อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย อำเภอสีคิ้ว และอำเภอเมืองนครราชสีมา
                  เช่น ศูนย์เรียนรู้ โคกหนองนาโมเดล เป็นต้น

                           2.5.3 พื้นที่ป่าไม้ (F) มีเนื้อที่ 2,177,932 ไร่ หรือร้อยละ 17.00 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ประกอบด้วย ป่าไม่ผลัด ป่าผลัดใบ และป่าปลูก
                                1) ป่าไม่ผลัดใบ (F1) มีเนื้อที่ 1,276,804 ไร่ หรือร้อยละ 9.97 ของเนื้อที่จังหวัด

                  ประกอบด้วย ป่าไม่ผลัดใบสมบูรณ์ (F101) มีเนื้อที่ 1,274,115 ไร่ หรือร้อยละ 9.95 ของเนื้อที่จังหวัด
                  พบมากที่อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปากช่อง และอำเภอปักธงชัย ที่สำคัญ
                  ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และป่าไม่ผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู (F100) มีเนื้อที่2,689 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.02 ของเนื้อที่จังหวัด พบที่อำเภอครบุรี และอำเภอปักธงชัย

                                2) ป่าผลัดใบ (F2) มีเนื้อที่ 635,661 ไร่ หรือร้อยละ 4.96 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ประกอบด้วย ป่าผลัดใบสมบูรณ์ (F201) มีเนื้อที่ 390,736 ไร่ หรือร้อยละ 3.05 ของเนื้อที่จังหวัด
                  พบมากที่อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอเทพารักษ์ และอำเภอด่านขุนทด พันธุ์ไม้สำคัญที่พบ ได้แก่
                  ประดู่ เต็ง แดง ตะแบกนา มะค่า และมีไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่รวก ปรงป่า และหญ้าชนิดต่าง ๆ

                  เป็นต้น ป่าผลัดใบที่สำคัญได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงพญาเย็น ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า
                  ป่าสงวนแห่งชาติป่าปากช่องและป่าหมูสี และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง
                  ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาซับประดู่ ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู (F200) มีเนื้อที่ 244,925 ไร่ หรือร้อยละ
                  1.91 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง อำเภอสีคิ้ว และอำเภอ

                  วังน้ำเขียว
                                3) ป่าปลูก (F5) มีเนื้อที่ 265,467 ไร่ หรือร้อยละ 2.07 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                  ป่าปลูกสมบูรณ์ (F501) มีเนื้อที่ 264,336 ไร่ หรือร้อยละ 2.06 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอ

                  จักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอปากช่อง และอำเภอวังน้ำเขียว และป่าปลูกรอสภาพฟื้นฟู (F500)
                  มีเนื้อที่ 1,131 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอครบุรี อำเภอปากช่อง และอำเภอ
                  ด่านขุนทด
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68