Page 12 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2566
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                            4

                                4) การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS database)

                                   เป็นการจัดทำข้อมูลทั้งเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
                  (attribute data) ของข้อมูลจากภาคสนาม และข้อมูลแผนที่จากส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการนำเข้าในระบบ
                  สารสนเทศด้วยโปรแกรมวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังนี้

                                      (1) การสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการนำเข้าข้อมูลในรูปแผนที่เพื่อใช้
                  วิเคราะห์และประมวลผลเชิงพื้นที่
                                      (2) การสร้างฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data) เป็นการนำเข้าข้อมูล
                  ด้านคุณลักษณะของแผนที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชิงพื้นที่ เพื่อทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
                  ข้อมูลทั้ง 2 ประเภท เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป

                                5) จัดทำแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
                                6) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                                7) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการใช้ที่ดิน

                                      (1) ใช้ข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2564 ระดับ 2 มาตราส่วน
                  1:25,000
                                      (2) สร้าง Grid index ขนาด 130 x 130 เมตร จากขอบเขตการปกครองของ
                  จังหวัดที่ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง เนื่องจากพื้นที่ที่เล็กที่สุดที่สามารถแสดงผลบนแผนที่การใช้ที่ดิน

                  มาตรส่วน 1:25,000 คือ 10 ไร่ หรือ 16,000 ตารางเมตร (130 x 130 เมตร = 16,900 ตารางเมตร)
                                      (3) ทำการสุ่มตัวอย่างจำนวนกริดที่ต้องทำการตรวจสอบ โดยจำนวนกริดที่ต้อง
                  ทำการตรวจสอบจะมีจำนวนร้อยละ 1 ของจำนวน Polygon ของข้อมูลการใช้ที่ดินระดับ 2 ของจังหวัด
                  นั้น ๆ

                                      (4) ทำการซ้อนทับข้อมูลการใช้ที่ดิน และกริดที่ทำการสุ่มตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว
                                      (5) ทำการตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นโดยข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูง
                  บนระบบ Google earth และในกรณีที่มีข้อสงสัยให้นำตำแหน่งกริดนั้นไปสำรวจเก็บข้อมูลในภาคสนาม
                  อีกครั้ง

                                      (6) นำเข้าข้อมูลตำแหน่งกริดที่สุ่มตัวอย่างใส่ในแทบเล็ต และใช้ร่วมกับ
                  แอพพลิเคชั่นเก็บข้อมูลภาคสนาม เช่น GPS Fields Area Measure หรือ Map Plus เพื่อตรวจสอบ
                  และบันทึกภาพข้อมูลภาคสนาม




                                      (7) วิเคราะห์ค่าความถูกต้องจาก =         จำนวน polygon ที่ถูกต้อง          x 100
                                                                   จำนวน polygon ทั้งหมด หลังจากที่ได้
                                                                  ทำการซ้อนทับกับข้อมูลการใช้ที่ดินแล้ว
                                      (8) นำค่าที่ได้ไปใส่ในคำอธิบายข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินรายจังหวัด
                                8) จัดทำแผนที่และรายงาน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17