Page 100 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2566
P. 100

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                           82

                                      (3) โรงเรือนเลี้ยงสุกร (A704) มีเนื้อที่ 284 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่

                  จังหวัด กระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ โดยพบมากที่อำเภอทรายมูล อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอ
                  คำเขื่อนแก้ว
                                      (4) โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ และม้า (A702) มีเนื้อที่ 241 ไร่ หรือร้อยละ 0.01

                  ของเนื้อที่จังหวัด กระจายทุกอำเภอ โดยพบมากที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอทรายมูล และอำเภอกุดชุม
                                7) พืชน้ำ (A8) มีเนื้อที่ 34 ไร่ ประกอบด้วย กก มีเนื้อที่ 34 ไร่ พบที่อำเภอเมืองยโสธร
                                8) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (A9) มีเนื้อที่ 1,946 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่
                  จังหวัด ประกอบด้วย สถานที่เพาะเลี้ยงปลา สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร้าง สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสม
                  และสถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง

                                      (1) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์ปลา (A902) มีเนื้อที่ 1,842 ไร่ หรือร้อยละ 0.07
                  ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม และอำเภอคำเขื่อนแก้ว
                                      (2) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร้าง (A900) มีเนื้อที่ 57 ไร่ พบมากที่อำเภอ

                  คำเขื่อนแก้ว และอำเภอมหาชนะชัย
                                      (3) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสม (A901) มีเนื้อที่ 24 ไร่ พบที่อำเภอกุดชุม
                                      (4) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์กุ้ง (A903) มีเนื้อที่ 23 ไร่ พบที่อำเภอมหาชนะชัย
                  และอำเภอเลิงนกทา

                                9) เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม (A0) มีเนื้อที่ 1,541 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน กระจายอยู่
                  ทุกอำเภอ พบมากที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอกุดชุม เช่น
                  ศูนย์เรียนรู้ โคกหนองนาโมเดล เป็นต้น

                           2.8.3 พื้นที่ป่าไม้ (F) มีเนื้อที่ 176,942 ไร่ หรือร้อยละ 6.81 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                  ป่าไม่ผลัดใบ ป่าผลัดใบ และป่าปลูก
                                1) ป่าไม่ผลัดใบ (F1) มีเนื้อที่ 3,404 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ประกอบด้วย ป่าไม่ผลัดใบสมบูรณ์ (F101) พบมากที่สุดในอำเภอเลิงนกทา

                                2) ป่าผลัดใบ (F2) มีเนื้อที่ 171,106 ไร่ หรือร้อยละ 6.58 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ประกอบด้วย ป่าผลัดใบสมบูรณ์ (F201) มีเนื้อที่ 125,930 ไร่ หรือร้อยละ 4.84 ของเนื้อที่จังหวัด
                  พบพื้นที่ป่าทุกอำเภอ พบมากที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอกุดชุม พันธุ์ไม้สำคัญ

                  ที่พบ ได้แก่ ประดู่ เต็ง แดง ตะแบกนา มะค่า และมีไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่รวก ปรงป่า และหญ้า
                  ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น จังหวัดยโสธรไม่มีเขตอุทยานแห่งชาติ ไม่มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ มีพื้นที่
                  ป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเป็นส่วนมาก ผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู (F200) มีเนื้อที่
                  45,176 ไร่ หรือร้อยละ 1.74 ของเนื้อที่จังหวัด พบพื้นที่ป่าทุกอำเภอ พบมากที่อำเภอกุดชุม อำเภอ
                  เลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอทรายมูล

                                3) ป่าปลูก (F5) มีเนื้อที่ 2,432 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                  ป่าปลูกสมบูรณ์ (F501) มีเนื้อที่ 1,753 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอค้อวัง
                  อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอเลิงนกทา และป่าปลูกรอสภาพฟื้นฟู (F500) มีเนื้อที่ 679 ไร่ หรือร้อยละ

                  0.03 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105