Page 12 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2561
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
ช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic) หรือภาพขาว ด า ที่มีรายละเอียดจุดภาพ 2 เมตร วิธีการนี้ท าให้
ได้ข้อมูลภาพสีที่มีรายละเอียดจุดภาพเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2 เมตร และข้อมูลภาพสีจะใช้การผสมสีจริง
(True color composite) โดยช่วงคลื่นสีแดง (0.62-0.69 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีแดง ช่วงคลื่นสีเขียว
(0.53-0.60 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีเขียว และช่วงคลื่นสีน้ าเงิน (0.45-0.52 ไมครอน) ผ่านตัวกรอง
สีน้ าเงิน จากการผลิตภาพข้อมูลดาวเทียมดังกล่าว ท าให้ได้ภาพดาวเทียมที่มีรายละเอียดจุดภาพสูง
และมีสีตามธรรมชาติ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินด้วยสายตาง่ายยิ่งขึ้น
(2) การผลิตภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat 8 OLI เนื่องจากข้อมูลดาวเทียม
ประกอบด้วยภาพถ่ายหลายแบนด์ (Band) แยกกันอยู่ ซึ่งภาพในแต่ละแบนด์จะบันทึกข้อมูลในแต่ละ
ช่วงคลื่น ดังนั้น ก่อนใช้งานจึงมีการน าภาพของแต่ละแบนด์มาหลอมรวมกัน โดยการศึกษาครั้งนี้
เลือกการผสมแบนด์เป็นภาพสีผสมเท็จสามช่วงคลื่น (False color composite) แบนด์ 5R-6G-4B คือ
ช่วงคลื่นที่ 5 Near Intreared NIR (0.85-0.88 ไมโครเมตร) ผ่านตัวกรองสีแดง ช่วงคลื่นที่ 6 SWIR 1
(1.57-1.65 ไมโครเมตร) ผ่านตัวกรองสีเขียว และช่วงคลื่นที่ 4 Red (0.64-0.67 ไมโครเมตร) ผ่านตัว
กรองสีน้ าเงิน ภาพที่ได้เหมาะส าหรับจ าแนกพืชพรรณ เช่น อ้อย มันส าปะหลัง และยางพารา เป็นต้น
(3) การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินจากข้อมูลจากดาวเทียม และภาพถ่าย
ออร์โธสีเชิงเลขพิจารณาจากองค์ประกอบของข้อมูล คือ ความเข้มของสีและสี (tone/color)
ขนาด (size) รูปร่าง(shape) เนื้อภาพ (texture) รูปแบบ (pattern) ความสูงและเงา (height and shadow)
ความเกี่ยวพัน (association) และการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (temporal change) ของข้อมูล
เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แล้วจึงน า
ชั้นข้อมูลที่ได้ท าการซ้อนทับกับภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข และข้อมูลภาพจากดาวเทียมไทยโชต
เพื่อพิมพ์เป็นแผนที่ใช้ในการส ารวจข้อมูลในภาคสนาม
3) การส ารวจข้อมูลในภาคสนาม ท าการส ารวจตรวจสอบรายละเอียดสภาพการใช้ที่ดิน
ภาคสนามในพื้นที่จริง พร้อมแก้ไขรายละเอียดให้มีความถูกต้องตรงกับสภาพปัจจุบัน
4) การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS database) เป็นการจัดท าข้อมูล
ทั้งเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data ) ของข้อมูลจากภาคสนาม
และข้อมูลแผนที่จากส่วนที่เกี่ยวข้องโดยการน าเข้าในระบบสารสนเทศด้วยโปรแกรมวิเคราะห์
และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังนี้
(1) การสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการน าเข้าข้อมูลในรูปแผนที่เพื่อใช้วิเคราะห์
และประมวลผลเชิงพื้นที่
(2) การสร้างฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เป็นการน าเข้าข้อมูลด้านคุณลักษณะของ
แผนที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชิงพื้นที่ เพื่อท าให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั้ง 2 ประเภท
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป
5) จัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดินรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2561
6) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน