Page 71 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 71

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               61








                                  5) พื้นที่อุตสาหกรรม (U5) มีเนื้อที่ 10,440 ไร่ หรือร้อยละ 0.20 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ได้แก่ พื้นที่อุตสาหกรรมร้าง มีเนื้อที่ 213 ไร่ โรงงานอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 8,810 ไร่ หรือร้อยละ
                       0.17 ของเนื้อที่จังหวัด และลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร มีเนื้อที่ 1,417 ไร่ หรือร้อยละ
                       0.03 ของเนื้อที่จังหวัด

                                  6) สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ (U6) มีเนื้อที่ 2,873 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ สุสาน ป่าช้า สถานีบริการน้ํามัน
                            2.6.2 พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 4,237,397 ไร่ หรือร้อยละ 81.69 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยพื้นที่นา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง

                       สัตว์น้ํา และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
                                  1) พื้นที่นา (A1) มีเนื้อที่ 3,557,951 ไร่ หรือร้อยละ 68.60 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       นาร้าง มีเนื้อที่ 9,596 ไร่ หรือร้อยละ 0.19 ของเนื้อที่จังหวัด นาข้าว มีเนื้อที่ 3,545,695 ไร่ หรือร้อยละ
                       68.36 ของเนื้อที่จังหวัด นอกจากนี้ มีพื้นที่ที่มีการปลูกพืชหลังการทํานา เช่น ข้าวโพด มันสําปะหลัง

                       ยาสูบ และพืชผัก และพบว่ามีการทํานาปรังในพื้นที่ลุ่มอีก 1,279 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่จังหวัด
                       จังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ปลูกข้าวอยู่ในทุกอําเภอ โดยอําเภอที่มีพื้นที่ทํานามากที่สุด ได้แก่ อําเภอเมยวดี
                       อําเภอโพนทอง อําเภอเชียงขวัญ อําเภอเมืองร้อยเอ็ด อําเภอเสลภูมิ อําเภอจังหาร อําเภอศรีสมเด็จ

                       อําเภอธวัชบุรี อําเภอจตุรพักตรพิมาน อําเภอเมืองสรวง อําเภออาจสามารถ อําเภอพนมไพร อําเภอ
                       หนองฮี อําเภอโพนทราย อําเภอสุวรรณภูมิ อําเภอเกษตรวิสัย และอําเภอปทุมรัตต์
                                  2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 401,735 ไร่ หรือร้อยละ 7.74 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย มีเนื้อที่ 239,287 ไร่ หรือร้อยละ 4.61 ของเนื้อที่จังหวัด มีพื้นที่ปลูกมากในอําเภอ
                       หนองพอก อําเภอโพนทอง อําเภอโพธิ์ชัย อําเภอเสลภูมิ และอําเภอเมยวดี มันสําปะหลัง มีเนื้อที่

                       157,262 ไร่ หรือร้อยละ 3.03 ของเนื้อที่จังหวัด มีพื้นที่ปลูกมากในอําเภอโพนทอง อําเภอหนองพอก
                       อําเภอโพธิ์ชัย อําเภอเสลภูมิ และอําเภอสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ปลูกพืชไร่อื่นๆ ได้แก่ ไร่ร้าง
                       มีเนื้อที่ 3,661 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด พืชไร่ผสม มีเนื้อที่ 1,361 ไร่ หรือร้อยละ 0.03

                       ของเนื้อที่จังหวัด พริก มีเนื้อที่ 72 ไร่ ยาสูบ มีเนื้อที่ 54 ไร่ ข้าวโพด มีเนื้อที่ 23 ไร่
                                  3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 220,754 ไร่ หรือร้อยละ 4.27 ของเนื้อที่จังหวัด โดยส่วนใหญ่
                       ที่ปลูก ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ํามัน และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
                                      (1) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 136,352 ไร่ หรือร้อยละ 2.63 ของเนื้อที่จังหวัด

                       โดยมีพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด อําเภอที่มีการปลูกยางพารามากที่สุด ได้แก่ อําเภอหนองพอก
                       อําเภอโพนทอง อําเภอโพธิ์ชัย อําเภอเสลภูมิ และอําเภอสุวรรณภูมิ
                                      (2) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 75,604 ไร่ หรือร้อยละ 1.46 ของเนื้อที่จังหวัด
                       โดยมีพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด อําเภอที่มีการปลูกยูคาลิปตัสมากที่สุด ได้แก่ อําเภอสุวรรณภูมิ

                       อําเภอหนองพอก อําเภอเกษตรวิสัย อําเภอโพนทอง และอําเภอเสลภูมิ
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76