Page 62 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               52








                       เช่น สถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน และวัด มีการขยายตัวของสถานที่ราชการโดยเฉพาะ
                       สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขยายวิทยาเขตมาตั้งในจังหวัดนี้ เช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                       มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม เป็นต้น
                                  4) สถานีคมนาคม (U4) มีเนื้อที่ 8,554 ไร่ หรือร้อยละ 0.26 ของเนื้อที่จังหวัด

                                  5) ย่านอุตสาหกรรม (U5) มีเนื้อที่ 7,637 ไร่ หรือร้อยละ 0.23 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ได้แก่ พื้นที่อุตสาหกรรมร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร มีเนื้อที่
                       38 6,805 และ 794 ไร่ หรือร้อยละ 0.00 0.21 และ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  6) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ (U6) มีเนื้อที่ 2,505 ไร่ หรือร้อยละ 0.08

                       ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยสถานที่ร้าง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์
                       สุสานป่าช้า และสถานีบริการน้ํามัน
                            2.5.2 พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 2,713,858 ไร่ หรือร้อยละ 82.02 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยพื้นที่นา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ พืชน้ํา สถานที่

                       เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
                                  1) พื้นที่นา (A1) มีเนื้อที่ 1,988,556 ไร่ หรือร้อยละ 60.12 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       นาข้าว มีเนื้อที่ 1,819,433 ไร่ หรือร้อยละ 55.01 ของเนื้อที่จังหวัด นาข้าวในพื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่

                       143,117 ไร่ หรือร้อยละ 4.33 ของเนื้อที่จังหวัด และนาร้าง มีเนื้อที่ 23,172 ไร่ หรือร้อยละ 0.70
                       ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด และยังพื้นที่นาที่มีการปลูกพืชตามหลังทํานา
                       ด้วย เช่น ข้าวโพด มันสําปะหลัง ยาสูบ ถั่วลิสง งา และพืชผัก เป็นต้น มีเนื้อที่ 2,834 ไร่ หรือร้อยละ
                       0.08 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 550,159 ไร่ หรือร้อยละ 16.63 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ไร่ร้าง

                       พืชไร่ผสม ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง ยาสูบ ถั่วลิสง งา มันแกว แตงโม และพริก
                                      (1) มันสําปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 383,502 ไร่ หรือร้อยละ 11.60 ของเนื้อที่
                       จังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอําเภอกุดรัง อําเภอโกสุมพิสัย อําเภอบรบือ และอําเภอนาเชือก

                                      (2) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 144,993 ไร่ หรือร้อยละ 4.38 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       ปลูกในอําเภอกุดรัง อําเภอโกสุมพิสัย และอําเภอชื่นชม
                                      (3) แตงโม (A220) มีเนื้อที่ 2,264 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด
                                      (4) พืชไร่อื่น ๆ ได้แก่ พืชไร่ผสม ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วลิสง งา มันแกว พริก

                       และไร่ร้าง มีเนื้อที่ 19,400 ไร่ หรือร้อยละ 0.58 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 72,106 ไร่ หรือร้อยละ 2.16 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ไม้ยืน
                       ต้นร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ยืนต้นผสม ยางพารา ปาล์มน้ํามัน ยูคาลิปตัส สัก สะเดา สนประดิพัทธ์
                       กระถิน ประดู่ หม่อน ไผ่ปลูกเพื่อการค้า และตะกู

                                      (1) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 52,033 ไร่ หรือร้อยละ 1.57 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกกระจายทั่วทั้งจังหวัด
                                      (2) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 14,433 ไร่ หรือร้อยละ 0.44 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอําเภอกันทรวิชัย อําเภอเชียงยืน และอําเภอวาปีปทุม
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67