Page 43 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               33








                                      (1) ไม้ผลผสม (A401) มีเนื้อที่ 2,717 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบกระจายตัวในทุกอําเภอ พบมากในอําเภอเมืองนครพนม อําเภอธาตุพนม และอําเภอนาแก
                                      (2) ลิ้นจี่ (A406) มีเนื้อที่ 2,634 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบกระจายตัวในทุกอําเภอ พบมากในอําเภอธาตุพนม อําเภอเมืองนครพนม และอําเภอท่าอุเทน

                       ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สําคัญของ ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 หรือชาวบ้านเรียกว่า ลิ้นจี่พันธุ์นาโดน มีลักษณะ
                       เปลือกสีแดงอมชมพู ผลขนาดใหญ่ ทรงรูปไข่ เนื้อผลแห้งสีขาวขุ่น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่มีรสฝาด
                       โดยลิ้นจี่ นพ.1 ที่ปลูกในพื้นที่ตําบลขามเฒ่า อําเภอเมืองนครพนมนั้น มีรสชาติอร่อย เป็นเอกลักษณ์
                       เนื้อผลมีน้ําน้อย รสชาติชัดเจน ผลโต ไหล่ผลกว้าง หนามทู่และห่าง จึงได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน

                       สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
                                      (3) มะม่วง (A407) มีเนื้อที่ 1,510 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบกระจายตัวในทุกอําเภอ พบมากในอําเภอปลาปาก อําเภอเมืองนครพนม และอําเภอนาแก
                                      (4) กล้วย (A411) มีเนื้อที่ 1,194 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด

                       พบกระจายตัวทุกอําเภอ พบมากในอําเภอธาตุพนม อําเภอเมืองนครพนม และอําเภอบ้านแพง
                       ส่วนมากนิยมปลูก กล้วยน้ําว้า และกล้วยหอมทอง
                                  5) พืชสวน (A5) มีเนื้อที่ 4,926 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่จังหวัด โดยมีพืชสวน

                       ที่สําคัญ ได้แก่ พืชผัก มีเนื้อที่ 4,642 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่จังหวัด พืชผักที่สําคัญ ได้แก่
                       ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า กะเพรา และโหระพา ปลูกมากในอําเภอเมืองนครพนม
                       อําเภอศรีสงคราม และอําเภอเรณูนคร
                                  6) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ (A7) มีเนื้อที่ 5,074 ไร่ หรือร้อยละ 0.15
                       ของเนื้อที่จังหวัด โดยประเภทการใช้ที่ดินทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่สําคัญ ได้แก่ ทุ่งหญ้าเลี้ยง

                       สัตว์ โรงเรือนเลี้ยงสุกร โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ และม้า และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
                                      (1) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ (A701) มีเนื้อที่ 3,038 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่
                       จังหวัด พบมากในอําเภอศรีสงคราม อําเภอเมืองนครพนม และอําเภอนาหว้า

                                      (2) โรงเรือนเลี้ยงสุกร (A704) มีเนื้อที่ 873 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่
                       จังหวัด พบมากในอําเภอเมืองนครพนม อําเภอเรณูนคร และอําเภอนาหว้า
                                      (3) โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ และม้า (A702) มีเนื้อที่ 586 ไร่ หรือร้อยละ 0.02
                       ของเนื้อที่จังหวัด พบกระจายตัวในทุกอําเภอ พบมากในอําเภอเมืองนครพนม อําเภอปลาปาก

                       และอําเภอวังยาง ส่วนมากเป็นโรงเรือนเลี้ยงโค
                                      (4) โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก (A703) มีเนื้อที่ 475 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่
                       จังหวัด พบกระจายตัวทุกอําเภอ พบมากในอําเภอเมืองนครพนม อําเภอศรีสงคราม และอําเภอเรณูนคร
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48