Page 20 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               12








                                      (2) ป่าผลัดใบ (F2) มีเนื้อที่ 581,464 ไร่ หรือร้อยละ 8.55 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยป่าผลัดใบสมบูรณ์ (F201) มีเนื้อที่ 481,695 ไร่ หรือร้อยละ 7.08 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบมากที่อําเภอภูผาม่าน อําเภอชุมแพ อําเภออุบลรัตน์ อําเภอมัญจาคีรี อําเภอสีชมพู และอําเภอ
                       เวียงเก่า ตามลําดับ พันธุ์ไม้สําคัญที่พบ ได้แก่ ประดู่ ตีนนก รกฟ้า เหียง พลวง เต็ง แดง ตะแบกนา

                       มะค่า และมีไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่รวก ปรงป่า และหญ้าชนิดต่าง ๆ ที่สําคัญได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ
                       ดงลาน และอุทยานแห่งชาติภูเวียง ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู (F200) มีเนื้อที่ 99,769 ไร่หรือร้อยละ
                       1.47 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อําเภอมัญจาคีรี อําเภอภูเวียง อําเภอน้ําพอง และอําเภอสีชมพู
                       ตามลําดับ

                                      (3) ป่าพรุ (F4) มีเนื้อที่ 999 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ป่าพรุ
                       สมบูรณ์ พบที่อําเภอโคกโพธิ์ไชย อําเภอชนบท และอําเภอมัญจาคีรี
                                      (4) ป่าปลูก (F5) มีเนื้อที่ 69,290 ไร่ หรือร้อยละ 1.02 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยป่าปลูกสมบูรณ์ (F501) มีเนื้อที่ 69,265 ไร่ หรือร้อยละ 1.02 ของเนื้อที่จังหวัด พบมาก

                       ที่อําเภอชุมแพ อําเภอสีชมพู อําเภอซําสูง และอําเภอบ้านฝาง ตามลําดับ และป่าปลูกรอสภาพฟื้นฟู
                       (F500) มีเนื้อที่ 25 ไร่ พบที่อําเภออุบลรัตน์
                            2.1.4 พื้นที่น้ํา (W) มีเนื้อที่ 386,252 ไร่ หรือร้อยละ 5.67 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย

                       แหล่งน้ําธรรมชาติ และแหล่งน้ําที่สร้างขึ้น
                                  1) แหล่งน้ําธรรมชาติ (W1) มีเนื้อที่ 169,099 ไร่ หรือร้อยละ 2.48 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยหนอง บึง ทะเลสาบ (W102) มีเนื้อที่ 93,450 ไร่ หรือร้อยละ 1.37 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ที่สําคัญได้แก่ บึงแก่นน้ําต้อน อําเภอเมืองขอนแก่น หนองโอก อําเภอน้ําพอง บึงกุดเค้า อําเภอมัญจา
                       คีรี หนองกองแก้ว อําเภอชนบท บึงละหานนา อําเภอแวงน้อย และกุดละว้า อําเภอบ้านไผ่ และแม่น้ํา

                       ลําห้วย ลําคลอง (W101) มีเนื้อที่ 75,649 ไร่ หรือร้อยละ 1.11 ของเนื้อที่จังหวัด ที่สําคัญได้แก่
                       แม่น้ําชี ลําพังชู ลําน้ําพอง เป็นต้น
                                  2) แหล่งน้ําที่สร้างขึ้น (W2) มีเนื้อที่ 217,153 ไร่ หรือร้อยละ 3.19 ของเนื้อที่จังหวัด

                       ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ํา (W201) มีเนื้อที่ 155,819 ไร่ หรือร้อยละ 2.29 ของเนื้อที่จังหวัด ที่สําคัญ
                       ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ หรือชาวบ้านเรียกว่า เขื่อนพองหนีบ อ่างเก็บน้ําเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่ง
                       น้ําจืดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่อําเภออุบลรัตน์ อําเภอหนองเรือ และอําเภอ
                       ภูเวียง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ําจืดที่ใหญ่ที่สุด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ําที่ดีที่สุดของภาค

                       อีสาน บ่อน้ําในไร่นา (W202) มีเนื้อที่ 55,554 ไร่ หรือร้อยละ 0.82 ของเนื้อที่จังหวัด พบกระจาย
                       ทั่วไปทุกอําเภอ และคลองชลประทาน (W203) มีเนื้อที่ 5,780 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด
                            2.1.5 พื้นที่เบ็ดเตล็ด (M) มีเนื้อที่ 240,027 ไร่ หรือร้อยละ 3.52 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                       ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ พื้นที่ลุ่ม เหมืองแร่ บ่อขุด พื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ นาเกลือ และที่ทิ้งขยะ

                                  1) ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ (M1) มีเนื้อที่ 197,846 ไร่ หรือร้อยละ 2.90 ของเนื้อที่
                       จังหวัด ประกอบด้วยทุ่งหญ้าสลับไม้พุ่ม/ไม้ละเมาะ 166,320 ไร่ หรือร้อยละ 2.44 ของเนื้อที่จังหวัด
                       และทุ่งหญ้าธรรมชาติ 31,526 ไร่ หรือร้อยละ 0.46 ของเนื้อที่จังหวัด โดยพบกระจายอยู่ทุกอําเภอ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25