Page 142 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 142

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               122








                                      (2) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 14,032 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       ปลูกอยู่ในอําเภอเขมราฐ อําเภอเดชอุดม อําเภอสําโรง และอําเภอวารินชําราบ
                                      (3) พริก (A229) มีเนื้อที่ 13,551 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       ปลูกอยู่ในอําเภอม่วงสามสิบ อําเภอเมืองอุบลราชธานี อําเภอเดชอุดม อําเภอเหล่าเสือโก้ก และ

                       อําเภอเขื่องใน
                                      (4) พืชไร่อื่น ๆ ได้แก่ ข้าวโพด ปอแก้ว ปอกระเจา แตงโม มะเขือเทศ และไร่ร้าง
                       มีเนื้อที่ 9,057 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 942,463 ไร่ หรือร้อยละ 9.58 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่

                       ยางพารา ปาล์มน้ํามัน ยูคาลิปตัส สัก และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
                                      (1) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 832,970 ไร่ หรือร้อยละ 8.47 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั้งจังหวัด มีพื้นที่ปลูกมากในอําเภอบุณฑริก อําเภอเดชอุดม อําเภอศรีเมืองใหม่
                       และอําเภอสิรินธร

                                      (2) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 57,533 ไร่ หรือร้อยละ 0.59 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั้งจังหวัด โดยนิยมปลูกในพื้นที่แห้งแล้งของจังหวัด มีพื้นที่ปลูกมากที่
                       อําเภอสิรินธร อําเภอเขื่องใน และอําเภอม่วงสามสิบ

                                      (3) ปาล์มน้ํามัน (A303) มีเนื้อที่ 45,625 ไร่ หรือร้อยละ 0.46 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกกระจายทั้งจังหวัด มีพื้นที่ปลูกมากในอําเภอนาจะหลวย อําเภอน้ํายืน อําเภอบุณฑริก
                       และอําเภอเดชอุดม
                                      (4) สัก (A305) มีเนื้อที่ 1,845 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       ปลูกกระจายอยู่ทั้งจังหวัด ปลูกมากที่อําเภอทุ่งศรีอุดม อําเภอเดชอุดม อําเภอเขมราฐ อําเภอสิรินธร

                       และอําเภอน้ํายืน
                                      (5) ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ยืนต้นผสม กระถิน ประดู่ หม่อน ไผ่ปลูกเพื่อการค้า
                       หมาก จารุรี ตีนเป็ด กฤษณา ตะกู และไม้ยืนต้นผสมร้าง มีเนื้อที่ 4,490 ไร่ หรือร้อยละ 0.05

                       ของเนื้อที่จังหวัด
                                  4) ไม้ผล (A4) มีเนื้อที่ 63,934 ไร่ หรือร้อยละ 0.63 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ มะม่วง
                       พุทรา และไม้ผลอื่นๆ
                                      (1) มะม่วงหิมพานต์ (A408) มีเนื้อที่ 44,104 ไร่ หรือร้อยละ 0.45 ของเนื้อที่

                       จังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอําเภอสว่างวีระวงศ์ อําเภอสิรินธร อําเภอโขงเจียม และอําเภอ
                       นาจะหลวย
                                      (2) มะม่วง (A407) มีเนื้อที่ 5,550 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       ปลูกกระจายทั้งจังหวัด พบปลูกมากในอําเภอตระการพืชผล อําเภอเขมราฐ และอําเภอสว่างวีระวงศ์

                                      (3) ไม้ผลอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ผลผสม ส้ม ทุเรียน เงาะ มะพร้าว ลิ้นจี่ พุทรา น้อยหน่า
                       กล้วย มะขาม ลําไย ฝรั่ง มะละกอ ขนุน กระท้อน ลางสาด ลองกอง มะนาว มะกอกน้ํา แก้วมังกร
                       ส้มโอ มะปราง มะยงชิด มะไฟ และไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรม มีเนื้อที่ 14,280 ไร่ หรือร้อยละ 0.15
                       ของเนื้อที่จังหวัด
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147