Page 130 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 130

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               112








                                      (1) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 1,459,800 ไร่ หรือร้อยละ 19.91 ของเนื้อที่จังหวัด
                       อ้อยโรงงานถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทํารายได้ให้จังหวัดอุดรธานี ปลูกมากในเขตอําเภอหนอบ้านผือ
                       อําเภอกุมภวาปี อําเภอวังสามหมอ อําเภอโนนสะอาด อําเภอบ้านดุง และอําเภอเพ็ญ
                                      (2) มันสําปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 772,785 ไร่ หรือร้อยละ 10.54 ของเนื้อที่

                       จังหวัด ปลูกมากในเขตอําเภอศรีธาตุ อําเภอวังสามหมอ อําเภอกุมภวาปี อําเภอโนนสะอาด อําเภอกู่แก้ว
                       และอําเภอบ้านผือ
                                      (3) พืชไร่อื่น ๆ ได้แก่ ข้าวโพด สับปะรด ฝ้าย ถั่วลิสง ข้าวไร่ แตงโม ลูกเดือย
                       มะเขือเทศ พริก พืชไร่ผสม และไร่ร้าง มีเนื้อที่ 12,486 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่จังหวัด

                                  3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 1,005,379 ไร่ หรือร้อยละ 13.72 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       ยางพารา ปาล์มน้ํามัน ยูคาลิปตัส สัก และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
                                      (1) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 832,194 ไร่ หรือร้อยละ 11.35 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ปลูกมากในเขตอําเภอน้ําโสม อําเภอนายูง อําเภอบ้านผือ อําเภอวังสามหมอ อําเภอบ้านดุง และ

                       อําเภอกุดจับ
                                      (2) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 111,879 ไร่ หรือร้อยละ 1.53 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด โดยนิยมปลูกในพื้นที่แห้งแล้งของจังหวัด พบปลูกมากในเขต

                       อําเภอบ้านดุง อําเภอเมืองอุดรธานี อําเภอเพ็ญ อําเภอหนองหาน และอําเภอกุมภวาปี
                                      (3) ปาล์มน้ํามัน (A303) มีเนื้อที่ 43,807 ไร่ หรือร้อยละ 0.60 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พบปลูกมากในเขตอําเภอบ้านผือ อําเภอบ้านดุง อําเภอน้ําโสม และ
                       อําเภอหนองวัวซอ
                                      (4) สัก (A305) มีเนื้อที่ 9,698 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่

                       ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด ยกเว้นอําเภอประจักษ์ศิลปาคม พบปลูกมากในเขตออําเภอน้ําโสม อําเภอนายูง
                       และอําเภอบ้านผือ เป็นแปลงปลูกในรูปแบบสวนป่าและแปลงเอกชนขนาดเล็ก
                                      (5) ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ยืนต้นผสม สะเดา กระถิน ประดู่ กาแฟ หม่อน

                       ไผ่ปลูกเพื่อการค้า ยมหอม มะฮอกกานี กฤษณา ตะกู และไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม มีเนื้อที่ 7,801 ไร่
                       หรือร้อยละ 0.11 ของเนื้อที่จังหวัด พบปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด ยกเว้นอําเภอประจักษ์ศิลปาคม
                       เป็นแปลงขนาดเล็ก
                                  4) ไม้ผล (A4) มีเนื้อที่ 31,119 ไร่ หรือร้อยละ 0.42 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ไม้ผลผสม

                       มะม่วง กล้วย มะขาม ลําไย และไม้ผลอื่นๆ
                                      (1) มะม่วง (A407) มีเนื้อที่ 15,024 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พบปลูกมากในเขตอําเภอหนองวัวซอ อําเภอเมืองอุดรธานี อําเภอหนองแสง
                       และอําเภอวังสามหมอ พันธุ์มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์น้ําดอกไม้สีทอง น้ําดอกไม้เบอร์ 4

                       มหาชนก เขียวเสวย ฟ้าลั่น และแก้ว โดยส่วนมากปลูกมันสําปะหลังแซมระหว่างแถวในขณะที่มะม่วง
                       ยังเล็ก หรือปลูกเป็นสวนหลังบ้าน
                                      (2) ไม้ผลผสม (A401) มีเนื้อที่ 6,795 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด ยกเว้นอําเภอกู่แก้วและอําเภอไชยวาน พบปลูกมากที่อําเภอเมือง

                       อุดรธานี อําเภอบ้านผือ อําเภอกุมภวาปี อําเภอน้ําโสม และอําเภอหนองวัวซอ
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135