Page 118 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 118

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               102








                                  3) สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ (U3) มีเนื้อที่ 29,040 ไร่ หรือร้อยละ 0.57
                       ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ สถานที่ราชการและสถาบันต่าง เช่น สถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน
                       วัดต่าง ๆ และสถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ ร้าง
                                  4) สถานีคมนาคม (U4) มีเนื้อที่ 32,337 ไร่ หรือร้อยละ 0.64 ของเนื้อที่จังหวัด เส้นทาง

                       คมนาคมที่สําคัญ ได้แก่ สนามบิน ถนน และทางรถไฟ
                                  5) ย่านอุตสาหกรรม (U5) มีเนื้อที่ 11,132ไร่ หรือร้อยละ 0.23 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       พื้นที่อุตสาหกรรมร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร
                                  6) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ มีเนื้อที่ 3,340 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่

                       จังหวัด ประกอบด้วยสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ สุสาน ป่าช้า สถานีบริการ
                       น้ํามัน และสนามกอล์ฟ
                            2.10.2 พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 4,082,481 ไร่ หรือร้อยละ 80.37 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยพื้นที่นา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง

                       สัตว์น้ํา และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
                                  1) พื้นที่นา (A1) มีเนื้อที่ 3,776,929 ไร่ หรือร้อยละ 74.39 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       นาข้าว มีเนื้อที่ 3,775,031 ไร่ หรือร้อยละ 74.35 ของเนื้อที่จังหวัด และนาร้าง มีเนื้อที่ 1,898 ไร่

                       หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 124,781 ไร่ หรือร้อยละ 2.45 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       ไร่ร้าง พืชไร่ผสม ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ปอแก้ว ปอกระเจา แตงโม และพริก
                                      (1) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 62,945 ไร่ หรือร้อยละ 1.24 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       ปลูกอยู่ในอําเภอกาบเชิง อําเภอปราสาท และอําเภอบัวเชด ตามลําดับ เนื่องจากมีโรงงานน้ําตาล

                       สุรินทร์อยู่ในตําบลโคกสะอาด อําเภอปราสาท นอกจากนั้นก็มีการกระจายปลูกในหลายอําเภอ ได้แก่
                       อําเภอพนมดงรัก อําเภอศรีณรงค์ อําเภอศรีขรภูมิ และอําเภอสังขะ
                                      (2) มันสําปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 59,798 ไร่ หรือร้อยละ 1.18 ของเนื้อที่จังหวัด

                       ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอําเภอบัวเชด อําเภอสังขะ และ อําเภอกาบเชิง ตามลําดับ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่
                       ปลูกพืชไร่อื่นๆ ได้แก่ ไร่ร้าง มีเนื้อที่ 1,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ถั่วเขียว มีเนื้อที่ 210 ไร่ พืชไร่ผสม
                       มีเนื้อที่ 170 ไร่ ข้าวโพด มีเนื้อที่ 111 ไร่ พริก มีเนื้อที่ 84 ไร่ แตงโม เนื้อที่ 40 ไร่ ปอแก้ว ปอกระเจา
                       มีเนื้อที่ 37 ไร่ และถั่วลิสง มีเนื้อที่ 11 ไร่

                                  3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 165,650 ไร่ หรือร้อยละ 3.25 ของเนื้อที่จังหวัด โดยส่วนใหญ่
                       ที่ปลูก ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ํามัน ยูคาลิปตัส และไม้ยืนต้นอื่นๆ
                                      (1) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 95,833 ไร่ หรือร้อยละ 1.89 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอําเภอสังขะ อําเภอบัวเชด อําเภอพนมดงรัก และอําเภอศรีณรงค์

                                      (2) ปาล์มน้ํามัน (A303) มีเนื้อที่ 3,257 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอําเภอกาบเชิง อําเภอพนมดงรัก และอําเภอสังขะ
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123