Page 48 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 48
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
41
4.3.2 ค่าการน าไฟฟ้าของดิน (EC)
พบความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีพืชพรรณกับค่าการน าไฟฟ้าของดินของดินจากข้อมูล
ภาพถ่ายทั้ง 2 เดือน (ตารางที่ 15) โดยข้อมูลภาพถ่ายในมีนาคมพบความสัมพันธ์ในระดับต่ าทั้ง
2
3 ดัชนี แต่อย่างไรก็ตามดัชนี NDVI ที่ใช้โมเดลแบบ Power ให้ค่าความสัมพันธ์สูงที่สุดโดยมีค่า r เท่ากับ
0.32 และ p-value เท่ากับ 0.24 ขณะที่ข้อมูลภาพถ่ายในธันวาคม ดัชนี NDVI และ GNDVI พบความสัมพันธ์
2
ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง โดย GNDVI โมเดลแบบ Exponential โดยมีค่า r เท่ากับ 0.73
และ p-value เท่ากับ 0.03 ทั้งนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 มีศักยภาพใน
การใช้ท าแบบจ าลองส าหรับประมาณค่าการน าไฟฟ้าของดิน (ภาพที่ 9) ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่าง
ค่า GNDVI ในเดือนธันวาคมกับค่าความเป็นค่าการน าไฟฟ้าของดิน โดยเมื่อค่า GNDVI สูงขึ้นค่าการน า
ไฟฟ้าของดินมีแนวโน้มลดลง จาผลการวิเคราะห์เห็นได้ว่าดัชนี NDVI และ GNDVI มีศักยภาพในการศึกษา
ค่าการน าไฟฟ้าของดินในพื้นที่ที่มีพืชปกคลุม แต่ดัชนี GNDVI อาจมีศักยภาพสูงกว่าเนื่องจากค่า GNDVI
มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต สามารถน ามาใช้เพื่อตรวจสอบสถานะการเจริญเติบโตของพืชตามเวลา
จริง การท านายหรือประเมินคุณลักษณะของพืช เช่น พื้นที่ใบ มวลชีวภาพ ความสมบูรณของพืชและ
ความหนาแนนของพืช (ชรัตน, 2540) ค่า GNDVI มีความไวต่อการแปรผันของคลอโรฟิลล์ในพืชมากกว่า
ค่า NDVI และมีจุดอิ่มตัวที่สูงกว่า สามารถใช้ในพืชที่มีทรงพุ่มหนาแน่นหรือในขั้นตอนการพัฒนาขั้นสูง
ในขณะที่ค่า NDVI เหมาะส าหรับการประมาณความแข็งแรงของพืชในระยะแรก ค่า GNDVI เป็นดัชนีวัด
กิจกรรมการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นดัชนีคลอโรฟิลล์และถูกน ามาใช้มากขึ้น ในการก าหนดปริมาณน้ าและ
ไนโตรเจนในเรือนยอดของพืชเนื่องจากมีความอิ่มตัวช้ากว่าค่า NDVI เป็นดัชนีพืชชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่าง
แพร่หลาย ปริมาณคลอโรฟิลล์เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ส าคัญส าหรับกระบวนการทางสรีรวิทยาหลาย
อย่างที่เชื่อมโยงชีพลักษณ์ของพืช ความสามารถในการสังเคราะห์แสง และการตรวจจับความเครียด
รวมถึงความเครียดจากภัยแล้ง (Gitelson et al., 1996) และค่าดัชนีพืชพรรณในเดือนธันวาคมให้ค่า
ความสัมพันธ์สูงกว่าค่าดัชนีพืชพรรณในเดือนมีนาคมอาจเกิดจากช่วงเดือนธันวาคมส่วนใหญ่ยังมีพืชปก
คลุมและไม่มีการผลัดใบจึงท าให้สามารถเห็นความแตกต่างในการดูดซับช่วงคลื่นของคลอโรฟิลล์ของพืชที่
เจริญเติบโตได้ปกติในพื้นที่ที่ดินไม่มีความเค็มและพืชที่เจริญเติบโตผิดปกติ มีคลอโรฟิลล์ต่ าในบริเวณที่ดิน
มีความเค็ม ซึ่งสอดคล้องกับ Cilek and Berberoglu (2018) ที่รายงานว่าการใช้ดัชนีพืชพรรณต่างช่วงเวลา
มีผลต่อความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชและ กรมการข้าว (กรมการข้าว, มปป.) การมีเกลือมากท าให้
อัตราการเจิญเติบโตของพืชต่ า และเกลือไปยับยั้งการดูดใช้โพแทสเซียมและแคลเซียมด้วย นอกจากนี้ยังท าให้
ปริมาณคลอโรฟิลล์และอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง