Page 12 - การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ Using of remote sensing for economic crops growth pattern study
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            2







                       การผลิต ปริมาณผลผลิต ราคา สถานการณ์การตลาด โรคพืชและศัตรูพืช การบริหารจัดการน  า รวมทั ง
                       การพยากรณ์และเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อเฝ้าระวัง ท าให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการ
                       การผลิตและคลังสินค้าได้ดียิ่งขึ น
                               ข้อมูลการส ารวจระยะไกล หรือ รีโมทเซ็นซิ่ง (remote sensing: RS) เป็นข้อมูลที่ได้จากการ

                       จัดเก็บข้อมูลของวัตถุต่าง ๆ บนพื นโลก โดยใช้หลักการตอบสนองของปฏิกิริยาของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ากับ
                       วัสดุภาคพื นดินโดยการพัฒนาภาพพื นผิว ข้อมูล RS จัดเป็นข้อมูลเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในรูปแบบ
                       ดิจิทัลถือเป็นปัจจัยพื นฐานส าคัญส าหรับการติดตามด้านสิ่งแวดล้อมและพืชผล เนื่องจากเป็นข้อมูล
                       คุณภาพสูง สามารถวิเคราะห์ได้ตามช่วงเวลา จ าเพาะส าหรับพี นที่ ปัจจุบันเทคโนโลยี RS โดยเฉพาะอย่าง

                       ยิ่งภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดียิ่ง ได้มีการ
                       พัฒนารายละเอียดภาพ (spatial resolution) ให้สูงขึ น จัดเก็บข้อมูลได้หลายช่วงคลื่น (spectral
                       resolution) ส่งผลให้สามารถเลือกใช้ช่วงคลื่นที่เหมาะสมต่อการศึกษาด้านต่างๆได้มากขึ น ในด้าน
                       การเกษตรและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยี RS มีศักยภาพสูงต่อการศึกษาการเจริญเติบโตของพืช ณ วันที่ท า

                       การจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวมีการก าหนดค่าพิกัดบนพื นโลก (Global Positioning System,
                       GPS) ท าให้สามารถวิเคราะห์ และเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ เชิงพื นที่ได้ง่าย นอกจากนี ข้อมูลดังกล่าวมีการ
                       จัดเก็บในรูปดิจิตอลไฟล์ส่งผลให้สามารถเก็บไว้ได้นาน ใช้พื นที่น้อย และสามารถน าออกมาใช้งานได้ง่าย

                       ตามต้องการ การจัดท าและปรับปรุงฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินทั่วทั งประเทศท าโดยการใช้ข้อมูล
                       ดาวเทียมรายละเอียดสูง ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข ร่วมกับการส ารวจภาคสนามแล้วน ามาวิเคราะห์ใน
                       ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดินและพื นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศ
                       ไทย นอกจากนี ข้อมูลดาวเทียมยังสามารถน ามาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ใช้ในการจัดการปัจจัยการ
                       ผลิต และการคาดการณ์ผลผลิต ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการในแปลงปลูก โดยพิจารณา

                       จากข้อมูลรีโมทเซ็นซิ่ง ณ เวลานั น

                       1.2 วัตถุประสงค์
                           1.2.1 สร้างฐานข้อมูลการส ารวจระยะไกลในรอบปีของพืชเศรษฐกิจจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
                           1.2.2 ศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงของค่าสะท้อนแสงในรอบปี
                           1.2.3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลายเซ็นเชิงคลื่นกับลักษณะข้อมูลการเจริญเติบโตที่ได้จากการส ารวจ

                       ภาคสนาม

                       1.3 ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน
                           ระยะเวลาด าเนินงาน เมษายน 2564 – ธันวาคม 2565
                           สถานที่ด าเนินงาน ลุ่มน  าย่อยล าภาชี
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17