Page 49 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          39


                                    (3) พื้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (stable) เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของที่ดินจากการ
                  เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่น้ำ

                  และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงสภาพเดิมอยู่
                                   การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC จังหวัดนครนายก
                  ระหว่าง ในปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ. 2564 มาตราส่วน 1 : 25,000 สามารถจำแนกการเปลี่ยนแปลงการใช้
                  ที่ดิน ดังตารางที่ 9 และระดับตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC ของความ

                  สมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ดังตารางที่ 9 - 10 และภาพที่ 11
                  สามารถสรุปได้ดังนี้
                                   (1) พื้นที่เสื่อมโทรมตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC มีเนื้อที่ 153,321 ไร่ หรือ ร้อยละ 11.56
                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยพื้นที่เสื่อมโทรมส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง

                                        - พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ 56,060 ไร่ หรือร้อยละ 4.23 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา และทางตอนล่างของอำเภอเมืองนครนายก
                  และอำเภอปากพลี
                                        - พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 39,913 ไร่

                  หรือร้อยละ 3..01 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก และอำเภอบ้านนา
                                        - พื้นที่ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ 12,774 ไร่ หรือร้อยละ 0.96
                  ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา และอำเภอเมืองนครนายก

                                   (2) พื้นที่ได้รับการปรับปรุงตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC มีเนื้อที่ 70,620 ไร่ หรือร้อยละ 5.33
                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยพื้นที่ได้รับการปรับปรุงส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
                                        - พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 26,577 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 2.00 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ใน อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ และทางตอนล่างของอำเภอ
                  เมืองนครนายก และอำเภอปากพลี

                                   (3) พื้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC  มีเนื้อที่ 1,102,309 ไร่ หรือร้อย
                  ละ 83.11 ของเนื้อที่จังหวัด
                                    สาเหตุของปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดินตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC เกิดจากการ

                  พัฒนาประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ความ
                  ต้องการที่ดินเพิ่มขึ้น การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร และการขยายตัวของเขตเมืองเขต
                  อุตสาหกรรมเข้าไปยังพื้นที่เกษตรกรรม การปรับเปลี่ยนแรงงานไปเป็นภาคอุตสาหกรรม แรงงานอพยพเข้าสู่
                  เมืองใหญ่ๆ ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมถูกทิ้งร้าง ส่งผลให้ที่ดินเสื่อมโทรมอันเนื่องจากขาดการวางแผนการใช้ที่ดิน

                  และการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดินได้ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อ
                  เกษตรกร จังหวัด และประเทศ รวมถึงสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54