Page 32 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          22


                  2.3.5 ทรัพยากรน้ำ
                            ทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดนครนายก มีลุ่มน้ำที่สำคัญ และแหล่งน้ำกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ โดยลุ่มน้ำ

                  สำคัญประกอบด้วย 4 ลุ่มน้ำหลัก และ 8 ลุ่มน้ำย่อย ดังนี้
                            1) ลุ่มน้ำมูล ประกอบด้วย 1 ลุ่มน้ำย่อย คือ ลำตะคอง
                            2) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย 1 ลุ่มน้ำย่อย คือ ที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา

                            3) ลุ่มน้ำป่าสัก ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำป่าสักตอนล่างส่วนที่ 2 และ ห้วยมวกเหล็ก
                            4) ลุ่มน้ำบางปะกง ประกอบด้วย 4 ลุ่มน้ำย่อย คือ แม่น้ำหนุมาน แม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง แม่น้ำ
                  นครนายก และที่ราบแม่น้ำบางปะกงส่วนที่ 1

                            แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดนครนายก ดังนี้

                            1) แม่น้ำบางปลากด เกิดจากลำน้ำเล็ก ๆ สองสายใน อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี คือ ลำน้ำ
                  นอก และลำน้ำใน ไหลผ่าน ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ ไปสบกับแม่น้ำนครนายก ที่อำเภอองครักษ์
                  ซึ่งในฤดูแล้งจะมีปริมาณน้ำน้อย

                            2) แม่น้ำนครนายก เป็นแม่น้ำสายสำคัญ มีต้นน้ำจากภูเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอ
                  ปากพลี จังหวัดนครนายก ไหลผ่านน้ำตกเหวนรก ซึ่งในช่วงต้นน้ำมีชื่อเรียกว่า "คลองท่าด่าน"ถูกกั้นโดยเขื่อน
                  ขุนด่านปราการชล นอกจากนี้แม่น้ำนครนายกยังเป็นเส้นแบ่งระหว่างอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และ

                  อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี สุดท้ายจึงไหลไปบรรจบกับ
                  แม่น้ำปราจีนบุรีที่ปากน้ำโยธะกาเป็นแม่น้ำบางปะกง
                            พื้นที่ชลประทานจังหวัดนครนายกมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 632,661 ไร่ หรือคิดเป็น ร้อยละ 47.70

                  ของพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วยโครงการชลประทานขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา
                  นครนายก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล
                  มีพื้นที่ประมาณ 586,439 ไร่

                            โครงการชลประทานขนาดกลาง 2 แห่ง ได้แก่ โครงการชลประทานปราจีนบุรี คือ ประตูระบายน้ำ
                  คลองสารภี มีพื้นที่ประมาณ 739 ไร่ และโครงการชลประทานนครนายก ประกอบด้วยประตูระบายน้ำคลอง
                  บ้านนา ประตูระบายน้ำคลองยาง อ่างเก็บน้ำคลองกลาง อ่างเก็บน้ำคลองวังบอน อ่างเก็บน้ำคลองสีเสียด

                  อ่างเก็บน้ำคลองโบด อ่างเก็บน้ำทรายทอง อ่างเก็บน้ำบ้านวังม่วง และอ่างเก็บน้ำห้วยปรือ มีพื้นที่ประมาณ
                  45,483 ไร่
                      2.3.6 ทรัพยากรป่าไม้

                            จากการศึกษาและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดนครนายก โดยการวิเคราะห์เขตพื้นที่ป่า
                  อนุรักษ์ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำ

                  ชั้นที่ 1 ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 มีนาคม 2535 เรื่องการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์
                  ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (Zone C) แนวเขตป่าไม้ถาวรและเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อ
                  เกษตรกรรมตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2536 พบว่า จังหวัดนครนายกมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 374,727 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 28.25 ของพื้นที่จังหวัด โดยรายละเอียด ดังนี้

                            1) พื้นที่อุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติน้ำตกสาม
                  หลั่น (พระพุทธฉาย) รวมเนื้อที่ประมาณ 357,747 ไร่
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37