Page 3 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                              คำนำ

                              การจัดทำเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน เพื่อกำหนด

                       มาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดนครนายก เป็นการประเมิน
                       ตัวชี้วัดความสมดุลของจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN) ในระดับพื้นที่ เพื่อประเมินตัวชี้วัดตามกรอบของ
                       UNCCD (Progress Indicators) ในระดับพื้นที่ ได้แก่ 1) ผลิตภาพของที่ดิน (Land Productivity: LP)
                       2) การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (Soil Organic Carbon Stock: SOC Stock) 3) พืชปกคลุมดิน

                       และการเปลี่ยนแปลงพืชปกคลุมดิน (Land cover / Land use change: LUC) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                       พัฒนาฐานข้อมูล LDN ในระดับพื้นที่สำหรับจัดทำแนวทางการจัดการด้านความสมดุลของการใช้ที่ดิน
                       และกำหนดมาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมที่เหมาะสมในระดับพื้นที่ของประเทศไทยสามารถ
                       นำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการรายงานตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและอนุสัญญา

                       สหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายการกำหนดมาตรการต่างๆ ในการ
                       ป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมของที่ดิน โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจาก ดังนี้ 1) สาเหตุหรือปัจจัย
                       ตามตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมทั้ง 3 ตัวชี้วัด 2) ความต้องการของชุมชน เกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                       และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และ 3) รูปแบบมาตรการด้านการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน
                       ตามมาตรฐานและหลักวิชาการ จากการสอบถามเกษตรกร หมอดินอาสาและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ใน
                       พื้นที่ พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดความเสื่อมโทรมมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่ป่า
                       ไปเป็นพื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ การขยายของชุมชนเมือง และอีกสาเหตุหนึ่งคือ การใช้ที่ดิน ที่ไม่
                       เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรมีการใช้พื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ขาดการบำรุง และ

                       ปรับปรุงรักษาพื้นที่เสื่อมโทรมบางส่วนเกิดจากธรรมชาติของดินเอง คือ ดินเค็มทะเลและดินเปรี้ยวจัด
                       ดังนั้น จึงสามารถจำแนกการกำหนดมาตรการการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน แบ่งออกเป็นด้าน
                       การจัดการทรัพยากรป่าไม้ ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการทรัพยากรดิน และด้านการจัดการ

                       ทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานโครงการสามารถขับเคลื่อนเป้าหมาย และตัวชี้วัดความ
                       สมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน เพื่อกำหนดมาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่
                       สามารถสนับสนุนเป้าหมายระดับโลกในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึง
                       มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

                              1) พัฒนาฐานข้อมูลตัวชี้วัดความสมดุลของจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN) ในระดับพื้นที่ให้
                       ครอบคลุมสภาพปัญหาและศักยภาพการใช้ที่ดินของประเทศ เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติในการประเมิน
                       ความเสื่อมโทรมของที่ดินตามตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN) ให้สามารถ
                       สะท้อนแนวทางการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดินระดับประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                              2) การกำหนดมาตรการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดินต้องใช้หลักการจัดการ
                       ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนที่เน้นการบริหารจัดการจากสภาพปัญหาและสาเหตุที่แท้จริงทั้งสภาพ
                       ทางกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการบูรณาการและเชื่อมโยง
                       ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนหรือประชาสังคมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนงานโครงการลงสู่

                       ระดับพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและผู้ใช้ที่ดิน
                              3) หน่วยงานผู้ประสานงานอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
                       (UNCCD) ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของประเทศ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายระดับโลกใน

                       ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2015-2030 (Sustainable Development Goals-SDGs)
                       เป้าประสงค์ ที่ 15 ตัวชี้วัดที่ 15.3.1“สัดส่วนของพื้นที่ดินที่ได้รับความเสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่
   1   2   3   4   5   6   7   8