Page 15 - รายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
P. 15

รายงานผลการด าเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ       ๖
                                                                ของกรมพัฒนาที่ดิน ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔



                       2) ให้มีตัวชี้วัดในองค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base)

               จำนวน 3 - 5 ตัวชี้วัด และส่วนราชการระดับกรมต้องมีตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดจากกระทรวง อย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด
                       3) ให้มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการ
               (ตัวชี้วัด 1 กรม 1 ปฏิรูป) เป็นตัวชี้วัดบังคับที่ส่วนราชการระดับกรมในองค์ประกอบ ที่ 1 การประเมินประสิทธิผล

               การดำเนินงาน (Performance Base)
                       4) การกำหนดตัวชี้วัดของส่วนราชการเน้นความสอดคล้องและเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท

               ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แนวทาง การพัฒนาประเทศไทย 4.0
               การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) แผนงานบูรณาการ รวมทั้งนโยบาย ของรัฐบาล และตัวชี้วัดมาตรฐานสากล

               (International KPIs) เพื่อนำมากำหนดเป็นตัวชี้วัด ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน และสามารถขับเคลื่อน
               นโยบายสำคัญของรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

                       5) ให้ความสำคัญกับการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงาน ร่วมกันระหว่าง
               กระทรวง (Joint KPIs) ตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล และระหว่าง กระทรวงและจังหวัด (Function-
               Area KPIs) โดยมีการถ่ายทอดเป้าหมายจากระดับประเทศ ลงสู่ระดับจังหวัดที่เป็นเป้าหมาย

                       6) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ส่วนราชการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานเพื่อรองรับ การทำงานใน
               รูปแบบ New Normal หรือการทำงานในชีวิตวิถีใหม่ รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็ง ให้หน่วยงานเพื่อผลักดันการ

               ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกำหนดตัวชี้วัด
               การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัลให้ส่วนราชการ เลือกดำเนินการ ได้แก่

                       ☺  การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงาน หรือการให้บริการ (e-Service)
                       ☺  การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงาน และข้อมูลที่จะ

                           เผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผย ข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
                       ☺  การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data)
                       ☺  การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน

                           (Digitalize Process) เพื่อนำไปสู่การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
                           เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Decision Making)

                       7) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์การของส่วนราชการสู่การเป็นระบบราชการ  4.0 โดยนำผลการ
               ประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) มาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

               ศักยภาพในการดำเนินงานของส่วนราชการ
                       8) ตัวชี้วัดที่มีความสำคัญและไม่สามารถวัดผลได้ในรอบปีการประเมินจะถูกกำหนดเป็น ตัวชี้วัด Monitor

               โดยให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานมายังสำนักงาน ก.พ.ร.
                       9) กำหนดรอบการประเมิน ปีละ 1 ครั้ง คือ รอบ 12 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30
               กันยายน 2564)










                                                                                             ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20