Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
31
ชุดดิน ท้ายเหมือง Series Tim กลุ่มชุดดินที่ 26
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-20 %
ภูมิสัณฐาน ลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือบริเวณพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน
วัตถุต้นกำเนิดดิน การผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนัก
ของหินแกรนิต
การระบายน้ำ ดี
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงเร็ว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว
ลักษณะสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายสี
น้ำตาล ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหยาบถึงเป็นดินเหนียว
ปนทรายหยาบ สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง และพบชั้นหินแกรนิตผุ
ระหว่างความลึก 50-100 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงปํนกรด
ปานกลาง (pH 5.0-6.0) ตลอดหน้าตัดดิน
ข้อจำกัด เป็นดินปนทราย ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ สภาพพื้นที่มีความ
ลาดชันและความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะ ชุดดินนี้มีความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำและสภาพพื้นที่มีความลาด
ชัน ต้องมีการทำขั้นบันไดและปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการชะล้าง
สมบัติทางเคมี ความลึก อินทรีย ความจุ ความอิ่ม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความอุดม
วัตถุ แลกเปลี่ยน ตัวเบส ที่เป็น ที่เป็น สมบูรณ์
(ซม.)
แคตไอออน ประโยชน์ ประโยชน์ ของดิน
0-25 ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ
25-50 ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ
50-100 ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ
สูญเสียหน้าดินและรักษาความชื้นในดิน และควรมีการให้ปุ๋ยเคมีแก่พืชด้วย
ภาพที่ 5 หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดินท้ายเหมือง