Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกระบี่
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                4







                         1.6  พื้นที่ชลประทาน
                             จังหวัดกระบี่มีเนื้อที่ชลประทาน 46,045 ไร่ (ร้อยละ 1.56 ของพื้นที่จังหวัด) กระจายอยู่ใน
                       4 อำเภอ มีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ 5 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ำได้รวม 41.45 ล้านลูกบาศก์เมตร
                       อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำบางกำปรัด มีระดับกักเก็บอยู่ที่ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น

                       ร้อยละ 38.60 ของน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดกระบี่ (ตารางผนวกที่ 2 และตารางผนวกที่ 3)

                         1.7  เขตปฏิรูปที่ดิน
                             เขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ 839,473 ไร่ (ร้อยละ 28.52 ของพื้นที่จังหวัด)
                       โดยอำเภอที่มีพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม และอำเภอ
                       เมืองกระบี่ ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 4)

                         1.8  การขึ้นทะเบียนเกษตรกร

                             จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดกระบี่มีการขึ้นทะเบียน
                       เกษตรกรผู้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด ในปี 2563 จำนวน 73,037 ราย รวมพื้นที่ 1,176,465 ไร่
                       และกิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวนาปี ทุเรียน ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 5)
                             ทะเบียนเกษตรพืชสมุนไพร จากฐานข้อมูลกลาง (Farmer One) ของสำนักงานเศรษฐกิจ

                       การเกษตร เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดกระบี่ พื้นที่ 377 ไร่ เกษตรกร 37 ราย
                       มีพืชสมุนไพรหลัก 9 ชนิด พืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาก อาทิ พริกไทย (ตารางผนวกที่ 6)

                         1.9  ที่ตั้งโรงงานและแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตร
                             จังหวัดกระบี่มีแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่สำคัญ จำนวน 91 แห่ง
                       และมีโรงงานทางการเกษตร 66 แห่ง โดยมีที่ตั้งสหกรณ์การเกษตรมากที่สุด 44 แห่ง (ตารางผนวกที่ 7)


                       2. การวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจหลัก

                           พืชเศรษฐกิจที่สำคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลค่าการส่งออกหรือแปรรูป
                       โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง
                       ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด

                       มะพร้าว และกาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดิน ได้กำหนดระดับความ
                       เหมาะสมของพื้นที่ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะห์จากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ำฝน
                       แหล่งน้ำชลประทาน ร่วมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสม
                       เป็น 4 ระดับ ได้แก่

                           ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง
                           ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง แต่พบ
                       ข้อจำกัดบางประการซึ่งสามารถบริหารจัดการได้
                           ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีข้อจำกัดของดินและน้ำ ส่งผลให้การผลิตพืช

                       ให้ผลตอบแทนต่ำ การใช้พื้นที่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมและขาดน้ำ
                           ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14