Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกระบี่
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               15







                                  1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว

                                    ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 124,828 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       5.22 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเขาพนม 30,082 ไร่ อำเภอคลองท่อม
                       28,139 ไร่ และอำเภอเมืองกระบี่ 25,685 ไร่
                                     ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,278,070 ไร่ คิดเป็น

                       ร้อยละ 53.46 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอคลองท่อม 274,362 ไร่
                       อำเภอเขาพนม 261,307 ไร่ และอำเภออ่าวลึก 189,725 ไร่
                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 355,367 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       14.86 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอคลองท่อม 79,235 ไร่ อำเภอเขาพนม

                       78,677 ไร่ และอำเภอเหนือคลอง 53,360 ไร่
                                     ระดับที่ 4 พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 632,814 ไร่

                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมะพร้าวในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 88 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของพื้นที่ศักยภาพสูง

                       กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเมืองกระบี่ 75 ไร่ และอำเภออ่าวลึก 13 ไร่
                                     (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 2,339 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเหนือคลอง 1,030 ไร่ อำเภอเกาะลันตา 974 ไร่ และ

                       อำเภอคลองท่อม 203 ไร่ เป็นต้น
                                     (3) พื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 135 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเมืองกระบี่ 54 ไร่ อำเภอเกาะลันตา 44 ไร่ และอำเภอ
                       คลองท่อม 37 ไร่
                                     (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 902 ไร่


                              3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมะพร้าวแต่ยังไม่มีการปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกมะพร้าว และพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวในชั้นความ
                       เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับเหมาะสมสูง (S1)
                       และพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 1,400,471 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มี

                       พื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอคลองท่อม 302,298 ไร่ รองลงมาได้แก่ อำเภอเขาพนม
                       291,371 ไร่ อำเภอปลายพระยา 182,321 ไร่ และอำเภอเมืองกระบี่ 174,993 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 124,740 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.93 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอเขาพนม 30,082 ไร่ อำเภอคลองท่อม 28,139 ไร่ และอำเภอ

                       เมืองกระบี่ 25,610 ไร่
                                     (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลางคงเหลือ (S2) มีเนื้อที่ 1,275,731 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       99.82 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอคลองท่อม 274,159 ไร่ อำเภอเขาพนม
                       261,289 ไร่ และอำเภออ่าวลึก 189,707 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25