Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชลบุรี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2








                       พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม อากาศค่อนข้าง
                       อบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป ตกหนัก

                       ในเขตป่าไม้ และภูเขา ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อากาศเย็นไม่หนาวจัด
                       อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 28.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิ

                       ต่ าสุดเฉลี่ย คือ 24.8 องศาเซลเซียส

                         1.4  ทรัพยากรดิน

                             ทรัพยากรดินจังหวัดชลบุรี แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา วัตถุต้นก าเนิดดิน ได้

                       ดังนี้

                             1) พื นที่หาดทรายและเนินทราย (Beach and Sand Dune) พื้นที่หาดทราย เป็นพื้นที่

                       ระหว่างแนวน้ าทะเลขึ้นและน้ าทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจาก
                       การกระท าของคลื่นและกระแสน้ าทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็น

                       โคกเตี้ย ๆ และเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
                       การระบายน้ าค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน สีน้ าตาล น้ าตาลปน

                       เหลือง หรือเหลืองปนแดง เช่น ชุดดินระยอง (Ry) ชุดดินพัทยา (Py) เป็นต้น

                             2) ราบชายฝั่งทะเล (Coastal plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอาเศษวัตถุ

                       จากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไปในแผ่นดิน

                       มากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
                               (1) พื้นที่น้ าทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ าทะเลขึ้นถึง ดินมีสีคล้ า

                       อินทรียวัตถุสูงและเป็นดินเค็ม (Saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรดก ามะถันหรือ

                       เป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ าเลวมาก เนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียด
                       หรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินบางปะกง (Bpg)

                               (2) พื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงในอดีต
                       เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ าจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่งต่ ามีน้ าขัง

                       ตลอดปี การระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มีการพัฒนาชั้นดิน

                       ไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ าตาลแก่ น้ าตาลปนเหลือง และน้ าตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดิน
                       บางน้ าเปรี้ยว (Bp) ชุดดินรังสิต (Rs) เป็นต้น

                               (3) ที่ราบลุ่มระหว่างสันทราย (Swale) เป็นพื้นที่ลุ่มต่ าหลังแนวสันทราย ซึ่งเคยเป็นชายฝั่งทะเล
                       ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายถึงทรายปนดินร่วน

                       สีน้ าตาลปนเทาและเทา พบจุดประสีเหลืองปนแดงและน้ าตาลปนเหลือง การระบายน้ าเลวถึงเลวมาก

                       มักอิ่มตัวด้วยน้ าตลอดเวลา มีเศษเปลือกหอยปะปนในเนื้อดิน อาทิ ชุดดินบางละมุง (Blm)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14