Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5







                       2,209,895 ไร่ สำหรับพื้นที่ดำเนินการแต่ละกิจกรรมมีเนื้อที่รวมกันมากกว่า 1,000 ไร่ มีจำนวน 20
                       กิจกรรม จำนวนเกษตรกร 126,020 ราย รวมเนื้อที่ 2,179,831 ไร่ และกิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมาก

                       ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน มันสำปะหลังโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะม่วง เป็นต้น
                       (ตารางผนวกที่ 5)

                             ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรจากฐานข้อมูลกลาง (Farmer One) ของสำนักงาน

                       เศรษฐกิจการเกษตร เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ 2,436 ไร่
                       เกษตรกร 223 ราย มีพืชสมุนไพรหลัก 15 ชนิด พืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาก คือ กระเจี๊ยบแดง พลู

                       มะระขี้นก พริกไทย ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 6)

                         1.9  ที่ตั้งโรงงานและแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตร

                             จังหวัดสุพรรณบุรีมีแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่สำคัญ จำนวน
                       60 แห่ง และมีโรงงานด้านการเกษตร จำนวน 305 แห่ง โดยมีโรงงานด้านการเกษตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                       มากที่สุด จำนวน 198 แห่ง (ตารางผนวกที่ 7)

                       2. การวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจหลัก


                           พืชเศรษฐกิจที่สำคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลค่าการส่งออกหรือแปรรูป

                       โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง
                       ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด

                       มะพร้าว และกาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดระดับความ

                       เหมาะสมของพื้นที่ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะห์จากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ำฝน
                       แหล่งน้ำชลประทาน ร่วมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสม

                       เป็น 4 ระดับ ได้แก่
                           ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง

                           ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง แต่พบ

                       ข้อจำกัดบางประการซึ่งสามารถบริหารจัดการได้
                           ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีข้อจำกัดของดินและน้ำ ส่งผลให้การผลิตพืช

                       ให้ผลตอบแทนต่ำ การใช้พื้นที่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมและขาดน้ำ

                           ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
                           จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่พืชเศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรก ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน

                       มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ตารางที่ 2)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17