Page 41 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 41
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
ชุดดิน สรรพยา Series Sa กลุ่มชุดดินที่ 21
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
ภูมิสัณฐาน ส่วนต่ำของสันดินริมน้ำบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง
วัตถุต้นกำเนิดดิน ตะกอนน้ำพา
การระบายน้ำ ดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
ลักษณะสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนเทา
มีจุดประสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) ดินล่าง
มีลักษณะเนื้อดินและสีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับตะกอนที่น้ำพามาทับถมในแต่ละปี ซึ่งอาจจะมี
ลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน เช่นเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาลปน
เหลืองเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือน้ำตาลแก่ และพบเกล็ดแร่ไมกาปะปนอยู่ตลอด
หน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) บริเวณตอนล่าง จะเป็น
ดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ข้อจำกัด พื้นที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลาก
ข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และแร่ธาตุ
ที่จำเป็นแก่พืชให้กับดินและช่วยให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ปรับปรุงการระบาย
น้ำของดินและป้องกันน้ำขัง โดยทำการระบายน้ำผิวดิน
สมบัติทางเคมี ความลึก อินทรียวัตถุ ความจุ ความ ฟอสฟอรัสที่เป็น โพแทสเซียมที่ ความอุดม
แลกเปลี่ยนแคต อิ่มตัวเบส ประโยชน์ เป็นประโยชน์ สมบูรณ์
(ซม.)
ไอออน ของดิน
0-25 ปานกลาง ปานกลาง สูง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง
25-50 ปานกลาง ปานกลาง สูง ต่ำ ต่ำ ปานกลาง
50-100 ต่ำ ปานกลาง สูง ต่ำ ปานกลาง ปานกลาง
ภาพที่ 2 หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดินสรรพยา