Page 21 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับความ
เหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืชตรงตาม
ศักยภาพของดิน ลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่าพื้นที่ที่ควรส่งเสริมให้มีการ
ปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงาน คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่เป็นนาข้าวในจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ศักยภาพสูง
มีเนื้อที่ 1,445 ไร่ พบมากในอำเภอค่ายบางระจัน (ตารางที่ 6) แล ะ เนื่องจากนโยบายของ
คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวต้องการรักษาดุลยภาพผลผลิตข้าวด้วยการลดพื้นที่ปลูกข้าว
ดังนั้น จึงอาจจะพิจารณานำพื้นที่บริเวณดังกล่าวปรับเปลี่ยนมาปลูกอ้อยโรงงานได้ หากในอนาคตข้าว
ราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อย
โรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงาน ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น
เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในที่ดินที่ไม่
มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงานที่สำคัญของจังหวัด
โดยกระจายตัวอยู่ในอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบางระจัน
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกอ้อยโรงงาน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็น
กรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายตัวอยู่ในอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภออินทร์บุรี
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการ
ปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกอ้อยโรงงาน มีต้นทุนที่ต่ำ และให้
ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 มะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอันดับที่ 3 ของจังหวัดสิงห์บุรี มีทั้งสายพันธุ์มะพร้าวต้นเตี้ยและ
มะพร้าวแกง จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online พบว่า ศักยภาพพื้นที่มีความ
เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกมะพร้าวจึงไม่แนะนำให้มีการส่งเสริมการปลูกเพิ่ม
เพราะจะประสบปัญหาราคาผลผลิตต่ำกว่าต้นทุนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)