Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                1






                       1. ข้อมูลทั่วไป


                          จังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ 3,576.486 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,235,304 ไร่ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใน
                       ภาคกลางของประเทศไทย ประกอบด้วย 13 อำเภอ 111 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) จำนวนประชากร

                       643,828 คน (กรมการปกครอง, 2563)

                        1.1  อาณาเขตติดต่อ
                            ทิศเหนือ     ติดต่อ จังหวัดลพบุรี

                            ทิศใต้     ติดต่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี

                            ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครนายก
                            ทิศตะวันตก   ติดต่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี

                         1.2  ภูมิประเทศ

                           ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดสระบุรี โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ สลับเนินเขา และภูเขา
                       ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศดังนี้

                           1) ที่ราบลุ่ม สูงจากระดับทะเลปานกลางเฉลี่ย 2 เมตร
                           2) ที่ราบสลับเนินเขา สูงจากระดับทะเลปานกลาง 8 - 10 เมตร

                           3) ภูเขาทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่่น้ำป่าสักไหลผ่านพื้นที่ทางตอนเหนือ ลง

                       มาสู่พื้นที่ราบสลับเนินเขาทางตอนกลางและที่ราบทางตะวันตก
                        1.3  ภูมิอากาศ

                           สภาพภูมิอากาศของจังหวัดสระบุรีเป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (Tropical Savanna Climate,
                       Aw) มีฝนน้อยและแห้งแล้งในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิค่อนข้างสูงใน

                       ฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว มีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณ

                       น้ำฝนเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนกันยายน และน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม
                        1.4  ทรัพยากรดิน

                           ทรัพยากรดินของจังหวัดสระบุรีแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ

                       ต้นกำเนิดดินได้ดังนี้
                          1) พื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงในอดีต

                       เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ำจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่งต่ำมีน้ำขัง
                       ตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียวที่มีการพัฒนาชั้นดิน

                       ไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดิน

                       องครักษ์ (Ok) ชุดดินรังสิต (Rs) เป็นต้น
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13