Page 7 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสงคราม
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       1. ข้อมูลทั่วไป
                         จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ 416.707 ตารางกิโลเมตร หรือ 260,442 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคกลางของ
                       ประเทศไทย ประกอบด้วย 3 อ าเภอ 36  ต าบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจ านวนประชากร 192,052 คน

                       (กระทรวงมหาดไทย, 2563)
                         1.1  อาณาเขตติดต่อ
                             ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร
                             ทิศใต้       ติดต่อ ทะเลอ่าวไทย และจังหวัดเพชรบุรี

                             ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดสมุทรสาคร
                             ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดราชบุรี
                         1.2  ภูมิประเทศ
                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดสมุทรสงครามโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล  สูงกว่า

                       ระดับทะเลปานกลาง 1 - 6 เมตร ประกอบด้วยลักษณะดังนี้
                             1) ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ไม่มีอาณาเขตที่เป็นเกาะ มีแม่น้ าแม่กลองเป็นแม่น้ าส าคัญที่ไหล
                       ผ่านจังหวัด ในเขตอ าเภอบางคนทีและอัมพวา ลงสู่อ่าวไทยบริเวณปากแม่น้ าในเขตอ าเภอเมือง

                       สมุทรสงคราม
                             2) พื้นที่ชุ่มน้ า เป็นป่าชายเลน นาเกลือและนากุ้ง พื้นที่ชุ่มน้ าตามอนุสัญญาแรมซาร์
                       ครอบคลุมพื้นที่ทะเลตั้งแต่ชายฝั่งจนถึงระดับน้ าลดลงต่ าสุด และวัดออกไปอีก 3 กิโลเมตร
                          1.3  ภูมิอากาศ
                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                       ท าให้ฝนตกมากและมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ มี 3 ฤดูคือ ฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน
                       ฤดูร้อนไม่ร้อนจัดฤดูฝนช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม  ฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง
                       กลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูหนาวไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 28.1 องศาเซลเซียส

                         1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินของจังหวัดสมุทรสงคราม แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา
                       และวัตถุต้นก าเนิดดิน ได้แก่
                               ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal Plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอาเศษวัตถุ

                       จากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไปใน
                       แผ่นดินมากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
                               (1) พื้นที่น้ าทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ าทะเลขึ้นถึง ดินมี
                       สีคล้ า อินทรียวัตถุสูงและเป็นดินเค็ม (saline  soil)  ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรด

                       ก ามะถันหรือเป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ าเลวมาก เนื้อดินเป็นดิน
                       ทรายแป้งละเอียดหรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินท่าจีน (Tc)
                               (2) พื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงใน
                       อดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ าจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่ง

                       ต่ ามีน้ าขังตลอดปี การระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มีการ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12