Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                1







                       1. ข้อมูลทั่วไป

                           จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีพื้นที่ 2,556.640 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,597,900 ไร่ ตั้งอยู่ในภาค
                       กลางของประเทศไทย ประกอบด้วย 16 อ าเภอ 209 ต าบล (ตารางผนวกที่ 1) มีประชากรจ านวน
                       819,088 คน (กรมการปกครอง, 2563)

                         1.1  อาณาเขตติดต่อ

                             ทิศเหนือ      ติดต่อ   จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี
                             ทิศใต้       ติดต่อ   จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี
                             ทิศตะวันออก   ติดต่อ   จังหวัดสระบุรี
                             ทิศตะวันตก    ติดต่อ   จังหวัดสุพรรณบุรี

                         1.2  ภูมิประเทศ
                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึง ไม่มีภูเขา สูงจาก
                       ระดับทะเลปานกลาง 3.5 - 3 เมตร น้ าทะเลท่วมถึงเมื่อประมาณ 11,000 ถึง 3,000 ปี ที่ผ่านมา ต่อมา
                       ระดับน้ าทะเลได้ถอยร่นและเกิดการทับถมของตะกอนแม่น้ ากลายเป็นที่ราบลุ่มในปัจจุบัน มีน้ าหลาก

                       ในฤดูฝน พัดพาตะกอนจากมาทับถมในที่ลุ่ม มีแม่น้ าส าคัญไหลผ่าน 4 สาย ได้แก่ แม่น้ าเจ้าพระยา
                       แม่น้ าป่าสัก แม่น้ าลพบุรี และแม่น้ าน้อย มีล าคลอง 1,254 สาย เชื่อมต่อกับแม่น้ าทั่วพื้นที่จังหวัด
                         1.3  ภูมิอากาศ

                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นแบบร้อนชื้น ได้รับอิทธิพลลมมรสุม
                       ตะวันออกเฉียงเหนือ ท าให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ท าให้มีฝนตกชุก
                       มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มกลางเดือน
                       กุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ปริมาณ
                       ฝนเฉลี่ย 1,000 - 1,200 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย 28.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 23.2

                       องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.8 องศาเซลเซียส มีอากาศร้อนจัดเดือนเมษายน อากาศหนาว
                       ในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม

                         1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา

                       และวัตถุต้นก าเนิดดิน ได้ดังนี้
                               1) พื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึง (Former Tidal Flats) เป็นพื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงใน
                       อดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนแม่น้ ากับตะกอนน้ าจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่งต่ า
                       มีน้ าขังตลอดปี การระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียวที่มีการพัฒนาชั้น

                       ดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ าตาลแก่ สีน้ าตาลปนเหลืองและน้ าตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุด
                       ดินอยุธยา (Ay) และชุดดินเสนา (Se) เป็นต้น

                             2) ที่ราบน้ าท่วมถึง (Flood  plain)  ที่ราบริมแม่น้ าหรือล าธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ ามักมี

                       น้ าท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ าพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
                       หลังน้ าท่วม แบ่งเป็น
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13