Page 47 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 47
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
40
ชุดดิน หุบกะพง Series Hg กลุ่มชุดดินที่ 40
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1 - 5 %
ภูมิสัณฐาน ลานตะพัก
วัตถุต้นกำเนิดดิน ตะกอนน้ำของวัสดุที่สลายตัวและถูกเคลื่อนย้ายมาจากหินไมกาไนส์
หินไมกาชีสต์ หรือหินแกรนิต
การระบายน้ำ ดี
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว
ลักษณะสมบัติของดิน เป็นดินลึก เป็นดินร่วนปนทรายตลอดและอนุภาคทรายมีขนาดหยาบขึ้นตามความลึก
ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง
ถึงเป็นกลาง (pH 6.0 - 7.0) ดินล่างตอนบน มีสีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีน้ำตาลแก่ ดิน
ล่างเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายที่มีขนาดหยาบเพิ่มขึ้น ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึง
เป็นด่างปานกลาง (pH 6.0 - 8.0) และอาจพบจุดประสีต่าง ๆ พบเกล็ดแร่ไมกาตลอดหน้า
ตัดของดิน
ข้อจำกัด เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ เสี่ยงต่อการ
ขาดแคลนน้ำ บางพื้นที่เกิดชั้นดานแน่นทึบ
ข้อเสนอแนะ ปลูกพืชไร่ ควรเลือกปลูกพืชที่ทนแล้งได้ดี ควรมีการปรับปรุงบำรุงรักษาดิน
โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้ง
ทางกายภาพและเคมีให้ดีขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร
ให้แก่ดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น
สมบัติทางเคมี ความลึก อินทรีย ความจุ ความอิ่ม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความอุดม
(ซม.) วัตถุ แลกเปลี่ยน ตัวเบส ที่เป็น ที่เป็น สมบูรณ์
แคตไอออน ประโยชน์ ประโยชน์ ของดิน
0 - 25 ต่ำ ต่ำ สูง ต่ำ ปานกลาง ปานกลาง
25 - 50 ต่ำ ต่ำ สูง ต่ำ ปานกลาง ปานกลาง
50 - 100 ต่ำ ต่ำ สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
ภาพที่ 4 หน้าตัดดินและคำอธิบายชุดดินหุบกะพง