Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปทุมธานี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2







                           1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินของจังหวัดปทุมธานี แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ

                       ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้
                               1) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal Plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอาเศษ

                       วัตถุจากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไปใน

                       แผ่นดินมากกว่าหาดทราย เป็นส่วนของพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่
                       น้ำทะเลเคยท่วมถึงในอดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนแม่น้ำกับตะกอนน้ำจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง

                       ราบเรียบ หรือ เป็นแอ่งต่ำมีน้ำขังตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียด
                       หรือดินเหนียว ที่มีการพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเหลือง

                       และน้ำตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดินอยุธยา (Ay) ชุดดินรังสิต (Rs) และชุดดินธัญบุรี (Tan) เป็นต้น

                             2) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) เป็นที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
                       วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงราบเรียบ ในหน้าฝน

                       หรือหน้าน้ำหลากมักมีน้ำท่วม และมีการทับถมของตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ำท่วม เป็นส่วนของ

                       สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เกิดจาก
                       การทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ ดินลึก เนื้อดินร่วน

                       หยาบ มีสีน้ำตาลและน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี อาทิ ชุดดินเชียงใหม่ (Cm)
                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดปทุมธานี (ภาพที่ 1 - 4)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14