Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนนทบุรี
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
ชุดดิน เสนา Series Se กลุ่มชุดดินที่ 11
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
ภูมิสัณฐาน ที่ราบน้ำทะเลเคยขึ้นถึง
วัตถุต้นกำเนิดดิน ตะกอนน้ำผสมกับตะกอนทะเล พัฒนาในสภาพน้ำกร่อย
การระบายน้ำ เลว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
ลักษณะสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว สีดำหรือเทาเข้ม ถัดลงไปเป็นสีน้ำตาลปนเทา
หรือน้ำตาล และเป็นดินเลนสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด
(pH 4.5-5.5) ดินล่างตอนบน เป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทา จุดประสีน้ำตาล
แก่หรือแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก
(pH 4.0-4.5) ดินล่างเป็นดินเลนเหนียว สีเทาเข้มหรือเทา จุดประสีเหลืองปน
น้ำตาล พบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารประกอบกำมะถันในระดับความลึก
ตั้งแต่ 50-100 เซนติเมตร และพบรอยไถล ผิวหน้าอัดมัน และผลึกยิปซัม
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0)
ข้อจำกัด ดินเป็นกรดจัดมาก ผลผลิตต่ำ ในบริเวณพื้นที่เขตชลประทานใช้ทำนาดำ
หรืออาจปลูกพืชผักและพืชไร่ในฤดูแล้ง แต่ผลผลิตไม่ดีนัก
ข้อเสนอแนะ ควรปรับสภาพกรดของดินให้เหมาะสม โดยการใช้วัสดุปูนชนิดต่างๆ และไถ
คลุกเคล้ากับดินทิ้งไว้ตั้งแต่ก่อนฤดูปลูก ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์และปุ๋ยเคมีควบคู่กันเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติดินทั้งทางกายภาพและ
ทางเคมีให้ดีขึ้น
สมบัติทางเคมี ความลึก อินทรีย์ ความจุ ความอิ่มตัว ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความอุดม
(ซม.) วัตถุ แลกเปลี่ยน เบส ที่เป็น ที่เป็น สมบูรณ์
แคตไอออน ประโยชน์ ประโยชน์ ของดิน
0-25 ปานกลาง สูง ปานกลาง ปานกลาง สูง ปานกลาง
25-50 ต่ำ สูง ปานกลาง ต่ำ สูง ปานกลาง
50-100 ต่ำ สูง ปานกลาง ต่ำ สูง ปานกลาง
ภาพที่ 3 หน้าตัดดินและคำบรรยายชุดดินเสนา