Page 15 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครปฐม
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                8








                               4) แนวทางการจัดการ
                               (1)  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกข้าวต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

                       ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่ส าคัญต่างๆ ได้ เช่น เกษตร
                       อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
                       ข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของจังหวัด โดย

                       กระจายอยู่ในอ าเภอบางเลน อ าเภอนครชัยศรี และอ าเภอเมืองนครปฐม เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดิน

                       ที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
                       และแหล่งน้ า โดยกระจายอยู่ในอ าเภอบางเลน อ าเภอดอนตูม และอ าเภอก าแพงแสน เป็นต้น
                                     (2)  พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุน

                       ให้เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ท าการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง
                       กว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย


                         2.2 อ้อยโรงงาน

                              อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครปฐมในล าดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่
                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 3 - 4)
                              1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน  พบเพียงพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง
                       (S1) เหมาะสมเล็กน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                     ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 327,684 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       24.46 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอก าแพงแสน 186,988  ไร่ อ าเภอเมือง
                       นครปฐม 121,771 ไร่ อ าเภอดอนตูม 17,979 ไร่ และอ าเภอนครชัยศรี 946 ไร่
                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,225 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       0.24 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอเมืองนครปฐม  1,644 ไร่ อ าเภอก าแพงแสน

                       1,399 ไร่ อ าเภอดอนตูม 160 ไร่ และอ าเภอบางเลน 22 ไร่
                                     ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,008,548 ไร่
                              2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจ าแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 88,469 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.00 ของพื้นที่

                       ศักยภาพสูง กระจายอยู่ในอ าเภอก าแพงแสน 70,455 ไร่ อ าเภอเมืองนครปฐม 17,570 ไร่ และอ าเภอ
                       ดอนตูม 444 ไร่
                                     (2) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,225 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ทั้งหมดของพื้นที่ปลูก

                       อ้อยโรงงานที่มีศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอ าเภอเมืองนครปฐม 1,644 ไร่ อ าเภอก าแพงแสน
                       1,399 ไร่ อ าเภอดอนตูม 160 ไร่ และอ าเภอบางเลน 22 ไร่
                                     (3) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 220 ไร่
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20