Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
20
4) แนวทางการจัดการ
(1)พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผล
ผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่
สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราใน
ที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญ
ของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก และอำเภอเดชอุดม เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอบุณฑริก อำเภอเดชอุดม และ
อำเภอสิรินธร เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารา มี
ต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอุบลราชธานีในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่
เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 26,562 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.34
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเขื่องใน 19,004 ไร่ อำเภอม่วงสามสิบ 3,927 ไร่
และอำเภอตระการพืชผล 3,631 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 590,542 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
7.63 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเขื่องใน 246,549 ไร่ อำเภอม่วงสามสิบ
193,305 ไร่ และอำเภอพิบูลมังสาหาร 74,107 ไร่ เป็นต้น
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 2,566,258 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 33.15 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเดชอุดม 263,768 ไร่ อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี 211,571 ไร่ และอำเภอตระการพืชผล 179,885 ไร่ เป็นต้น
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,558,432 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน จำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 312 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอม่วงสามสิบ 212 ไร่ อำเภอตระการพืชผล 86 ไร่ และอำเภอเขื่องใน 14 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 24,706 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.18 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเขื่องใน 8,568 ไร่ อำเภอน้ำยืน 6,641 ไร่ และอำเภอ
ม่วงสามสิบ 2,605 ไร่ เป็นต้น