Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดมุกดาหาร
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
1) ที่ราบน าท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ าหรือล าธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ า มักมี
น้ าท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ าพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
หลังน้ าท่วม ได้แก่ สันดินริมน้ า (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ าพาบริเวณริมฝั่ง
แม่น้ า เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ า การระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ อาทิ
ดินชุมพลบุรี (Chp)
2) ที่ราบตะกอนน าพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ าหรือล าน้ า
สาขา วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ า
แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ เป็นส่วนของตะพักล าน้ าระดับต่ า
(Low Terrace) ซึ่งเป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึง
ดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ าตาลปนเทา และน้ าตาล มีจุดประสีต่าง ๆ การระบายน้ าค่อนข้างเลว
ถึงเลว เช่น ชุดดินธวัชบุรี (Th) ชุดดินนครพนม (Nn) เป็นต้น
3) พื นเกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิดจาก
การผุพังด้วยกระบวนการกร่อนท าลายโดยน้ า ท าให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ าแตกต่างกันมาก
มีระดับต่ าลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นก าเนิดดินเกิดจากการผุพัง
สลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นก าเนิดหรือ
หินที่รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน แบ่งเป็น
(1) พื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินลึก เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว
ปนทราย ดินร่วนเหนียว และดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีเทาหรือน้ าตาลปนเทา ตอนบนพบจุดประ
สีน้ าตาลหรือแดง ตอนล่างพบจุดประสีน้ าตาล น้ าตาลปนเหลือง และเหลือง และอาจพบศิลาแลงอ่อน
ในตอนล่างของหน้าตัดดิน ดินมีการระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง เช่น ชุดดินช านิ (Cni)
ชุดดินเขมราฐ (Kmr) เป็นต้น
(2) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชัน และเนินเขา ดินลึกและลึกปานกลาง
เนื้อดินมีทรายปน ได้แก่ ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน สีน้ าตาล
น้ าตาลปนแดง อาจพบจุดประสีต่าง ๆ ลูกรัง และเศษหินปะปนในตอนล่างของหน้าตัดดิน ดินมี
การระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี เช่น ชุดดินค าบง (Kg) ชุดดินโพนพิสัย (Pp) เป็นต้น
4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) และภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็น
ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วง
ของโลกในระยะทางใกล้ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหิน
ปะปนในหน้าตัดดินและลอยหน้า พื้นที่จังหวัดมุกดาหารพัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือ
หินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ าตาล และ
น้ าตาลปนแดง การระบายน้ าดีถึงมากเกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น
ชุดดินวังน้ าเขียว (Wk) ชุดดินภูพาน (Pu) เป็นต้น
ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดมุกดาหาร ในภาพที่ 1 – 5