Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               29







                          4) แนวทางการจัดการ
                            (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1      หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกมันสําปะหลังต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอด

                       โครงการที่สําคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา
                       เป็นต้น
                             พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูก

                       มันสําปะหลังในที่ดินที่ไม่มีข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสําปะหลังซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่ง
                       ปลูกมันสําปะหลังที่สําคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอําเภอลําปลายมาศ อําเภอคูเมือง และ
                       อําเภอกระสัง เป็นต้น
                             พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก

                       มันสําปะหลังในที่ดินที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสําปะหลังเช่น ความอุดมสมบูรณ์
                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอําเภอเมืองบุรีรัมย์ อําเภอประโคนชัย และ
                       อําเภอลําปลายมาศ เป็นต้น
                           (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3  หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า

                       โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกมันสําปะหลัง
                       มีต้นทุนที่ต่ํา และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                        2.4  ยางพารา
                               บุรีรัมย์เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สําคัญ จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                       Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)

                          1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                            ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1)  มีเนื้อที่ 13,383 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.23
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,743,365 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอกระสัง 8,497 ไร่ อําเภอสตึก 2,415 ไร่
                       และอําเภอนาโพธิ์ 693 ไร่

                            ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2)  มีเนื้อที่ 2,479,956 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       43.18 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,743,365 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอบ้านกรวด 253,512 ไร่ อําเภอ
                       ละหานทราย 233,166 ไร่ และอําเภอสตึก 217,609 ไร่

                            ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 784,220 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       13.65 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,743,365 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอนางรอง 192,693 ไร่ อําเภอ
                       ปะคํา 126,479 ไร่ และอําเภอหนองกี่ 113,464 ไร่
                            ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 2,465,806 ไร่
                          2) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพาราที่ปลูกจริงในปัจจุบัน

                           (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 96 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.72
                       ของพื้นที่เหมาะสมสูง พบมากอยู่ในอําเภอกระสัง 86 ไร่ และอําเภอนางรอง 10 ไร่
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41