Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21







                          4) แนวทางการจัดการ
                            (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1  หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกอ้อยโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอดโครงการที่สําคัญต่าง ๆ ได้

                       เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา เป็นต้น
                             พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงานซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงาน

                       ที่สําคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่อําเภอกระสัง 8,899 ไร่ อําเภอสตึก  2,427 ไร่ และอําเภอนาโพธิ์
                       693 ไร่ เป็นต้น
                             พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง          (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       อ้อยโรงงานในที่ดินที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกอ้อยโรงงานเช่น ความอุดมสมบูรณ์

                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอําเภอละหานทราย 167,679 ไร่ อําเภอสตึก
                       147,458 ไร่ และอําเภอบ้านกรวด 145,724 ไร่  เป็นต้น
                           (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3  หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                       โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกอ้อยโรงงานมีต้นทุนที่ต่ํา

                       และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                        2.3  มันสําปะหลัง
                               บุรีรัมย์ เป็นแหล่งปลูกมันสําปะหลังที่สําคัญ จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                       Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
                          1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง

                                  ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1)  มีเนื้อที่ 155,670 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.71
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,742,910 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอลําปลายมาศ 31,201 ไร่ อําเภอ
                       คูเมือง 25,319 ไร่ และอําเภอกระสัง 19,028 ไร่
                                  ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2)  มีเนื้อที่ 1,223,241 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       21.30 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,742,910 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอเมืองบุรีรัมย์ 467,611 ไร่ อําเภอ
                       ประโคนชัย 454,208 ไร่ และอําเภอลําปลายมาศ 405,297 ไร่
                                  ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 128,202 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       2.23 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,742,910 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอโนนสุวรรณ 42,803 ไร่ อําเภอ
                       หนองกี่ 20,285 ไร่ และอําเภอปะคํา 18,259 ไร่
                                  ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,235,797 ไร่
                          2) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังที่ปลูกจริงในปัจจุบัน
                           (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกมันสําปะหลัง มีเนื้อที่ 16,535  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.62

                       ของพื้นที่เหมาะสมสูง พบมากอยู่ในอําเภอลําปลายมาศ 5,650 ไร่ อําเภอนางรอง 2,506 ไร่ และอําเภอ
                       คูเมือง 2,210 ไร่
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33