Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               13







                          4) แนวทางการจัดการ
                           (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1  หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

                       ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอดโครงการที่สําคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตร
                       อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา เป็นต้น

                             พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
                       ข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สําคัญของจังหวัด โดย

                       กระจายอยู่ในอําเภอเมืองละหานทราย อําเภอเมืองบุรีรัมย์ และอําเภอกระสัง เป็นต้น
                             พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่มี

                       ข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
                       และแหล่งน้ํา โดยกระจายอยู่ในอําเภอลําปลายมาศ อําเภอประโคนชัย และอําเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็นต้น
                            (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3  หรือ N) ควรสนับสนุนให้

                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทําการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดย
                       พิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                        2.2  อ้อยโรงงาน
                               อ้อยโรงงานพืชเศรษฐกิจหลักของบุรีรัมย์ในลําดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
                       หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)

                          1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                                  ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1)  มีเนื้อที่ 14,394    ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.25
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,741,185 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอกระสัง 8,899 ไร่ อําเภอสตึก  2,427 ไร่

                       และอําเภอนาโพธิ์ 693 ไร่
                                  ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2)  มีเนื้อที่ 1,645,729  ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       28.67 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,741,185 ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอละหานทราย 167,679 ไร่ อําเภอ
                       สตึก 147,458 ไร่ และอําเภอบ้านกรวด 145,724 ไร่
                                  ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 145,332  ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       2.53 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 5,741,185  ไร่ พบมากอยู่ในอําเภอโนนสุวรรณ 41,612 ไร่ อําเภอ
                       ปะคํา 29,071 ไร่ และอําเภอหนองกี่ 21,156 ไร่
                                  ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 3,935,730 ไร่

                          2) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่ปลูกจริงในปัจจุบัน
                              (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกอ้อยโรงงาน มีเนื้อที่ 1,361 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       9.46 ของพื้นที่เหมาะสมสูง พบมากอยู่ในอําเภอกระสัง 737 ไร่ อําเภอแคนดง 445 ไร่ และอําเภอ
                       นางรอง 45 ไร่

                              (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกอ้อยโรงงาน มีเนื้อที่ 521,285 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 31.68 ของพื้นที่เหมาะสมปานกลาง พบมากอยู่ในอําเภอสตึก 82,632 ไร่ อําเภอหนองกี่
                       62,784 ไร่ และอําเภอหนองหงส์ 60,625 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25