Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               15








                           2.2  มันสำปะหลัง

                                  มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครราชสีมาลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลใน
                       แผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้

                                     1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
                                     ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 112,001 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.05
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 75,164 ไร่ อำเภอโชคชัย 7,719 ไร่ และ

                       อำเภอด่านขุนทด 6,252 ไร่
                                     ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 4,905,563 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 46.00 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอด่านขุนทด 567,566 ไร่ อำเภอ
                       สีคิ้ว 472,980 ไร่ และอำเภอปากช่อง 416,534 ไร่
                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 710,450 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       6.66 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 243,080 ไร่ อำเภอวังน้ำเขียว

                       140,922 ไร่ และอำเภอครบุรี 89,277 ไร่
                                     ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,935,846 ไร่
                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกมันสำปะหลัง มีเนื้อที่ 24,776 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       22.12 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 14,656 ไร่ อำเภอโชคชัย 3,495 ไร่
                       และอำเภอด่านขุนทด 1,521 ไร่
                                     (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกมันสำปะหลัง มีเนื้อที่ 2,095,036 ไร่
                       คิดเป็นร้อยละ 42.71 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากมากอยู่ในอำเภอด่านขุนทด 287,098 ไร่

                       อำเภอสีคิ้ว 214,109 ไร่ และอำเภอครบุรี 171,540 ไร่
                                     (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในการปลูกมันสำปะหลัง มีเนื้อที่ 228,182 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 32.13  ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย พบมากอยู่ในอำเภออำเภอครบุรี 24,379 ไร่ อำเภอ
                       หนองบุญมาก 33,059 ไร่ และอำเภอเสิงสาง 26,875 ไร่
                                     (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกมันสำปะหลัง มีเนื้อที่ 7,357 ไร่
                                    3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมันสำปะหลังแต่ยังไม่ใช้

                       พื้นที่ปลูก พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง และพื้นที่ปลูก
                       มันสำปะหลังในชั้นความเหมาะสมต่างๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือ
                       ในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 2,897,752 ไร่ โดย
                       อำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอปากช่อง 437,148 ไร่ รองลงมาได้แก่ อำเภอ
                       ด่านขุนทด 285,199 ไร่ อำเภอสีคิ้ว 259,288 ไร่ และอำเภอปักธงชัย 138,609 ไร่ มีรายละเอียดดังนี้
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 87,225 ไร่ ไร่ คิดเป็นร้อยละ 77.88 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอปากช่อง 60,508 ไร่ อำเภอด่านขุนทด 4,731 ไร่ และอำเภอ

                       โชคชัย 4,224 ไร่
                                     (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลางคงเหลือ (S2) มีเนื้อที่ 2,810,527 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       57.29 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอปากช่อง 376,640 ไร่ อำเภอด่านขุนทด
                       280,468 ไร่ และอำเภอสีคิ้ว 258,871 ไร่
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27