Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               11








                         2.2  ยางพารา
                             ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของนครพนมในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่

                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา

                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 360,471 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.17

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอเมืองนครพนม 101,356 ไร่ อำเภอเรณูนคร 66,299 ไร่
                       และอำเภอธาตุพนม 48,527 ไร่

                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 808,193 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       25.04 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอศรีสงคราม 183,825 ไร่ อำเภอท่าอุเทน 139,179 ไร่

                       และอำเภอนาแก 108,377 ไร่

                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 781,383 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       24.21 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอโพนสวรรค์ 160,474 ไร่ อำเภอปลาปาก 150,585

                       ไร่ และอำเภอเมืองนครพนม 131,576 ไร่

                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,277,095 ไร่
                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของ

                       ที่ดิน ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 22,271 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       6.18 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบมากอยู่ในอำเภอเมืองนครพนม 8,686 ไร่ อำเภอเรณูนคร 2,616 ไร่

                       และอำเภอศรีสงคราม 2,291 ไร่
                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 259,710 ไร่ คิดเป็น

                       ร้อยละ 32.13 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากอยู่ในอำเภอศรีสงคราม 67,578 ไร่ อำเภอท่าอุเทน
                       40,066 ไร่ และอำเภอนาแก 33,011 ไร่

                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 77,739 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       9.95 ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย พบมากอยู่ในอำเภอท่าอุเทน 27,442 ไร่ อำเภอบ้านแพง 21,576 ไร่
                       และอำเภอนาทม 10,961 ไร่

                               (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 2 ไร่

                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ไม่ใช้พื้นที่
                       ปลูกยางพารา พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพารา

                       ในชั้นความเหมาะสมต่าง  ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับ

                       ความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 886,684 ไร่ โดยกระจายอยู่
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22