Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               14








                         2.2  อ้อยโรงงาน
                           อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดขอนแก่นในลําดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่
                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)

                           1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                            ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 22,520 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.41

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอเมืองขอนแก่น 10,162 ไร่ อําเภอน้ําพอง 9,631 ไร่ และ
                       อําเภอซําสูง 1,797 ไร่
                            ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 2,586,537 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       46.61 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอกระนวน 242,374 ไร่ อําเภอเมืองขอนแก่น

                       228,724 ไร่ และอําเภอน้ําพอง 209,829 ไร่
                            ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 656,749 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       11.84 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอบ้านไผ่ 148,059 ไร่ อําเภอหนองสองห้อง 95,936 ไร่
                       และอําเภอเปือยน้อย 60,549 ไร่

                            ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 2,283,017 ไร่

                           2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจําแนกตามชั้นความเหมาะสม
                       ของที่ดิน ได้ดังนี้
                           (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,649 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.32 ของพื้นที่ศักยภาพสูง

                       พบมากในอําเภอน้ําพอง 1,169 ไร่ อําเภอบ้านฝาง 193 ไร่ และอําเภอซําสูง 140 ไร่
                           (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 869,446 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.61 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง พบมากในอําเภอกระนวน 110,685 ไร่ อําเภอสีชมพู 84,966 ไร่ และอําเภอ
                       น้ําพอง 81,029 ไร่
                           (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 192,216 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.27 ของพื้นที่

                       ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในอําเภอสีชมพู 27,139 ไร่ อําเภอบ้านไผ่ 26,051 ไร่ และอําเภอ
                       ภูเวียง 17,792 ไร่
                           (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 213 ไร่

                           3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อยโรงงานแต่ไม่ใช้

                       พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสําหรับการปลูกอ้อยโรงงาน และพื้นที่ปลูก
                       อ้อยโรงงานในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือ
                       ในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 1,737,962 ไร่
                       กระจายอยู่ทั่วทุกอําเภอ โดยอําเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อําเภอเมืองขอนแก่น

                       184,839 ไร่ รองลงมา ได้แก่ อําเภอมัญจาคีรี 159,429 ไร่ อําเภอน้ําพอง 137,262 ไร่ อําเภอกระนวน
                       131,689 ไร่ ตามลําดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                           (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 20,871 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.68 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบมากในอําเภอเมืองขอนแก่น 10,023 ไร่ อําเภอน้ําพอง 8,462 ไร่ และอําเภอซําสูง

                       1,657 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25