Page 18 - การสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการกระจายดินเค็ม 2564 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           8


                              5. กรณีเกษตรกรไม่ได้มาให้ข้อมูล เจ้าหน้าที่ของสำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่
                       ดำเนินการสำรวจการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มเติม โดยประสานขอความอนุเคราะห์ไป

                       สถานีพัฒนาที่ดินเจ้าของพื้นที่
                       3.4 การจัดทำฐานข้อมูล

                              การจัดทำฐานข้อมูลแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
                              1. การจัดการฐานข้อมูลแผนที่เชิงเลข เป็นการจัดทำแผนที่โดยนำข้อมูลแผนที่จากหน่วยงานต่าง ๆ
                       ที่มีรูปแปลงที่ดิน พร้อมเลขที่ดินมาประกอบเป็นแผนที่การถือครองที่ดิน ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ใน

                       การสำรวจในพื้นที่ดำเนินงาน ซึ่งภายหลังเมื่อแล้วเสร็จจึงใช้เทคนิคด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ เชื่อมโยง
                       ข้อมูลแผนที่เข้ากับข้อมูลจากการสัมภาษณ์
                              2. การจัดการข้อมูลอรรถาธิบาย เป็นการออกแบบ และการจัดการฐานข้อมูล ที่ได้จากการ
                       สอบถาม เพื่อใช้สำหรับเชื่อมโยงกับข้อมูลแผนที่เชิงเลข

                       3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

                              หลังจากการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลแล้ว ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
                       ด้วยโปรแกรมด้านภูมิสารสนเทศ โดยแบ่งลักษณะข้อมูลออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
                                 ๔.๑ เขตการปกครองในพื้นที่ดำเนินงาน
                                 ๔.๒ กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดำเนินงาน

                                 ๔.๓ การถือครองที่ดินในพื้นที่ดำเนินงาน
                                 ๔.๔ สัดส่วนของขนาดแปลงที่ดินในพื้นที่ดำเนินงาน
                                 ๔.๕ การจำแนกประเภทของการถือเอกสารสิทธิในพื้นที่ดำเนินงาน
                                 ๔.๖ การจำแนกลักษณะของผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดำเนินงาน

                                 ๔.๗ การใช้ประโยชน์ที่ดินตามการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับ 3 ของกรมพัฒนาที่ดิน
                                 ๔.๘ ลักษณะสภาพพื้นที่และความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว)
                                 ๔.๙ แหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในด้านเกษตรกรรมของเกษตรกร
                               ๔.๑๐ การใช้ปุ๋ยในการเพาะปลูกในพื้นที่ดำเนินงาน

                               ๔.๑๑ การใช้สารเคมีปราบโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืชในพื้นที่ดำเนินงาน
                               ๔.๑๒ ลักษณะปัญหาด้านการเกษตรที่พบในพื้นที่ดำเนินงาน
                               ๔.๑๓ ดินปัญหาในพื้นที่ดำเนินงาน

                               ๔.๑๔ การเข้าร่วมกิจกรรมบัตรดินดีของกรมพัฒนาที่ดิน
                               ๔.๑๕ การรับบริการปัจจัยการผลิตจากกรมพัฒนาที่ดิน
                               ๔.๑๖ รายได้จากผลผลิตทางการเกษตร
                               ๔.๑๗ การปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
                               ๔.๑๘ การได้รับบริการความรู้วิชาการ การแก้ไขปัญหาดินเค็มและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม

                               ๔.๑๙ การได้รับบริการองค์ความรู้และแปลงสาธิตการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็ม

                       3.6 การนำเสนอผลการดำเนินงาน
                              เพื่อนำเสนอต่อสถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 สำหรับใช้ในประโยชน์
                       ด้านฐานข้อมูล และแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของหน่วยงาน รวมถึงเผยแพร่ต่อองค์การ

                       ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้เข้าไปปฏิบัติงาน  ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์และไฟล์แผนที่เชิงเลข
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23