Page 12 - การสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินในโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการกระจายดินเค็ม 2564 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           2


                              10. นางสาววริศรา     ผอบพลอย        เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

                              11. นายสมศักดิ์      ปุณญานันทโชค  นายช่างสำรวจ
                              11. นายมนตรี         ตรีนก          นายช่างศิลป์

                              12. นางวลักษกร       ตรีนก          เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
                              13. นายวิเศษ         ธรรมรังษี      พนักงานขับรถยนต์

                       ๑.๗ ที่ปรึกษาการดำเนินงาน
                              นายสมโสถติ์  ดำเนินงาม ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่

                              นางปราณี     สีหบัณฑ์    ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5
                       ๑.๘ ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน

                              1.  รวบรวม ปรับระบบพิกัด และจัดเตรียมแผนที่การถือครองที่ดินทางการเกษตร
                              2.  ออกแบบและสร้างแบบสำรวจ สำมะโนที่ดินทางการเกษตร
                              3.  สำมะโนที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่ดำเนินงาน
                              4.  วิเคราะห์ข้อมูล

                              5.  จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
                       ๑.๙ ประโยชน์ที่ได้รับ

                              ข้อมูลการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น
                       ประกอบด้วยฐานข้อมูล (Database) และแผนที่เชิงเลข (Digital Map) ด้านการถือครองที่ดินทางการเกษตร
                       การใช้ประโยชน์ที่ดิน และข้อมูลการจัดการดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อใช้ประโยชน์ ดังนี้

                              1. เป็นฐานข้อมูลสำหรับการตรวจสอบ การปรับปรุง และจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลด้านดิน
                       ด้านสภาพการใช้ที่ดิน ด้านการกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช (โซนนิ่ง) ด้านระบบการจัดการน้ำ

                       และระบบการกระจายน้ำ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านปัญหาและความต้องของเกษตรกร
                              2. เป็นฐานข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบการให้คำแนะนำในการจัดการดินสำหรับการปลูกพืช

                       เศรษฐกิจตามความเหมาะสมเป็นรายแปลง
                              3. เป็นฐานข้อมูลสำหรับงานด้านพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น การวิเคราะห์ดิน

                       การปรับปรุงบำรุงดิน การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ เป็นต้น
                              4. เป็นฐานข้อมูลสำหรับงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ
                       เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และการสร้างแหล่งน้ำ

                       เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
                              5. เป็นฐานข้อมูลสำหรับงานด้านการสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกร เช่น ธนาคารปุ๋ย/

                       เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
                              6. เป็นฐานข้อมูลสำหรับงานด้านการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิต
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17